มารู้จัก กองพลน้อยชุดรบ (Brigade Combat Team ) กัน

BCT ย่อมาจาก brigade combat team หรืออาจเรียกว่า กองพลน้อยชุดรบ เป็นรูปแบบการจัดหน่วยรบของกองทัพบก BCT มาจาก 2 คำรวมกัน คือ กองพลน้อย กับชุดรบ คำว่ากองพลน้อย หมายถึง BCT เป็นหน่วยที่มีขนาดใหญ่กว่ากรม แต่เล็กกว่ากองพล ส่วนคำว่าชุดรบ หมายถึง BCT เป็นหน่วยที่มีการผสมหลายเหล่าทั้งราบ ม้า ปืนใหญ่ ช่าง สื่อสาร เป็นต้น และมีทั้งส่วนดำเนินกลยุทธ สนับสนุนการรบ และช่วยรบ เพื่อให้มีความสมบูรณ์และรบได้ดัวยตัวเองเป็นอิสระจากหน่วยเหนือขึ้นไป

BCT ย่อมาจาก brigade combat team หรืออาจเรียกว่า กองพลน้อยชุดรบ เป็นรูปแบบการจัดหน่วยรบของกองทัพบก BCT มาจาก 2 คำรวมกัน คือ กองพลน้อย กับชุดรบ คำว่ากองพลน้อย หมายถึง BCT เป็นหน่วยที่มีขนาดใหญ่กว่ากรม แต่เล็กกว่ากองพล ส่วนคำว่าชุดรบ หมายถึง BCT เป็นหน่วยที่มีการผสมหลายเหล่าทั้งราบ ม้า ปืนใหญ่ ช่าง สื่อสาร เป็นต้น และมีทั้งส่วนบังคับบัญชา ดำเนินกลยุทธ สนับสนุนการรบ และช่วยรบ เพื่อให้มีความสมบูรณ์และรบได้ดัวยตัวเองเป็นอิสระจากหน่วยเหนือขึ้นไป

BCT เล็กกว่ารูปแบบการจัดหน่วยรบที่นิยมใช้แต่เดิม คือ กองพล เดิมนั้นกองพลประกอบด้วยกรมดำเนินกลยุทธ 3 กรม เช่น กองพลทหารราบ แบ่งเป็น 3 กรมทหารราบ พร้อมทั้งหน่วยสนับสนุนการรบและช่วยรบต่างๆ เช่น กรมทหารปืนใหญ่ กองพันทหารม้า กองพันทหารช่าง กองพันทหารสื่อสาร กองพันเสนารักษ์ ขณะที่แกนหลักของ BCT คือ กรมดำเนินกลยุทธ เพียง 1 กรม แล้วเพิ่มส่วนสนับสนุนการรบและช่วยรบเข้าไปให้มีความสมบูรณ์เหมือนกองพลเดิม นั่นทำให้ BCT มีขนาดหน่วยที่ใหญ่กว่ากรม จึงเป็นที่มาของคำว่ากองพลน้อยนั่นเอง ดังนั้นถ้า 1 กองพลทหารราบ มี 3 กรมทหารราบ เมื่อเปลี่ยนเป็น BCT จะมี 3 BCT ทั้งนี้หน่วยสนับสนุนการรบและช่วยรบในกองพล ก็จะถูกแบ่งเป็นหน่วยย่อยตามจำนวน BCT ด้วย เพื่อรองรับแต่ละ BCT เช่น กองพันทหารช่างของกองพล จะถูกแบ่งเป็น 3 กองร้อยทหารช่างให้กับแต่ละ BCT

อาจกล่าวได้ว่าแนวคิด BCT มีต้นกำเนิดจากกองทัพบกสหรัฐฯ ที่ส่งทหารไปปฏิบัติภารกิจทั่วโลกอยู่ตลอด สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้กำลังในยุคหลังสงครามเย็น ที่ต้องการหน่วยรบที่เล็กลง แต่มีหลายหน่วยสามารถแยกไปปฏิบัติการได้หลายที่ มีความพร้อมรบสูง พร้อมออกปฏิบัติการได้ในเวลาอันสั้น และปฏิบัติการได้ต่อเนื่องตลอด รวมทั้งปฏิบัติการได้ในทุกรูปแบบและทุกระดับความขัดแย้ง (full spectrum) นั่นทำให้โอกาสการใช้กำลังทั้งกองพลในคราวเดียวมีน้อยลง และการจะให้กองพลทั้งกองพลออกปฏิบัติการพร้อมกันได้ในคราวเดียวก็ต้องใช้เวลานาน แต่เดิมสหรัฐฯ ไม่ได้จัดหน่วยในลักษณะ BCT อย่างถาวร แต่เป็นการจัดในลักษณะเฉพาะกิจ เรียกว่า brigade task force หรือกองพลน้อยเฉพาะกิจ ในยุค 1990 จนมาปรับเปลี่ยนเป็น BCT แบบถาวรตั้งแต่ประมาณปี 2006 เป็นต้นมา BCT เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหน่วยรบครั้งใหญ่ที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

BCT ของกองทัพบกสหรัฐฯ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ Infantry BCT (IBCT) Stryker BCT (SBCT) และ Armored BCT (ABCT) จุดหลักต่างกันที่กรมดำเนินกลยุทธซึ่งแกนหลักของหน่วย เรียงตามลำดับจากเบาไปหาหนัก โดย IBCT จะเป็นกรมทหารราบเบาหรือส่งทางอากาศ SBCT จะเป็นกรมทหารราบ ที่ใช้รถเกราะล้อยาง 8×8 Stryker ขณะที่ ABCT จะเป็นกรมทหารราบยานเกราะ ที่ใช้รถถังและยานเกราะสายพาน

เมื่อมี BCT แล้ว กองพลจะลดบทบาทเป็นเพียงส่วนบังคับบัญชา (บก.กองพล และส่วนสนับสนุนของ บก. เช่น สื่อสาร ระวังป้องกัน) และจะใช้เมื่อทำการรบแล้วใช้กำลังมากกว่า 1 BCT เพราะแต่ละ BCT สามารถทำการรบได้ด้วยตัวเองแล้ว ส่วนในที่ตั้งปกติกองพลยังคงดูแลด้านธุรการให้กับหน่วยขึ้นตรงตามเดิม

แนวคิด BCT ยังมาพร้อมกับแนวคิดเรื่องโมดูลด้วย คือ การทำให้หน่วยรบและหน่วยสนับสนุนต่างๆ ในกองทัพมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด สามารถสับเปลี่ยนโยกย้ายทำภารกิจทดแทนกันได้หมด เพิ่มหรือลดหน่วยสนับสนุนได้ตามสถานการณ์และความจำเป็น กองทัพบกจึงเปลี่ยนจากกองทัพที่มีการจัดหน่วยบนพื้นฐานของกองพล (division based) เป็นการจัดหน่วยบนพื้นฐานของกองพลน้อย (brigade based) โดยแบ่งเป็นกองพลน้อยดำเนินกลยุทธ (modular combat brigade) ที่มี 3 แบบ (IBCT SBCT ABCT) และกองพลน้อยสนับสนุน (modular support brigade) ที่มีหลายรูปแบบ เช่น กองพลน้อยบิน กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศ กองพลน้อยช่วยรบ

ทั้งนี้นอกจากกองทัพบกสหรัฐฯ แล้ว กองทัพบกออสเตรเลียเป็นอีกชาติหนึ่งที่ได้ใช้แนวคิด BCT ในการจัดหน่วยเช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้มีกองพลน้อยดำเนินกลยุทธหลายแบบเหมือนกองทัพบกสหรัฐฯ

การที่กองทัพบกไทยจะนำแนวคิด BCT มาใช้ จะทำให้ต้องจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่หรือไม่ คงไม่จำเป็น เพราะเป็นแนวคิดรูปแบบการจัดหน่วยรบ ไม่ใช่แบบหรือขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ การจัดหายุทโธปกรณ์ต่างๆ สามารถเป็นไปตามแผนเดิมได้ และยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่เดิมก็ยังใช้ได้ต่อไป รวมทั้งไม่เกี่ยวกับว่าเมื่อใช้แนวคิด BCT จากสหรัฐฯ จะทำให้ต้องจัดหายุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ ตามไปด้วย และการใช้แนวคิด BCT ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องจัดหน่วยรบตามแบบ BCT ของสหรัฐฯ ทุกอย่างเช่นกัน เช่น กองทัพบกไทยไม่มีการจัดหน่วยข่าวกรองทางทหารให้กับทุกกองพลดำเนินกลยุทธ เมื่อปรับเป็น BCT ก็จะไม่มีหน่วยข่าวกรองทางทหารอยู่ภายใน ขณะที่กองทัพสหรัฐฯ จะมีหน่วยดังกล่าว 

ทั้งนี้กองทัพบกไทยได้เคยทดลองใช้แนวคิด BCT ไปหลายครั้งในการฝึก โดยเป็นการจัดลักษณะเฉพาะกิจ ทั้งรูปแบบของกรมทหารราบและกรมทหารม้า สำหรับหน่วยรบของกองทัพบกไทยที่มีรูปแบบการจัดใกล้เคียงกับแนวคิด BCT มากที่สุด คือ หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว หรือ RDF (rapid deployment force) ซึ่งแกนหลัก คือ กรมทหารราบที่ 31 แล้วเพิ่มเติมหน่วยสนับสนุนการรบและช่วยรบต่างเหล่าเข้าไป ทั้งจากระดับกองพล คือ หน่วยในกองพลที่ 1 (หน่วยเหนือของกรมทหารราบที่ 31) และจากระดับกองทัพบก เช่น กองพลทหารปืนใหญ่ แต่สิ่งที่ RDF ยังไม่เหมือน BCT ที่แท้จริง นั่นคือ RDF เป็นการจัดเฉพาะกิจ ไม่ใช่การจัดถาวรอ

BCT ของกองทัพบกไทย จะเป็นกำลังรบผสมเหล่าระดับกรม เรียกว่า กรมผสม โดยกองทัพไทยไม่มีหน่วยระดับกองพลน้อย กรมผสมจะมีหลายแบบตามลักษณะการจัดหน่วยของกรมดำเนินกลยุทธที่เป็นแกนหลัก เช่น ทหารราบ ทหารราบยานเกราะ ทหารม้า

เมื่อจะใช้แนวคิด BCT ขั้นแรกกองทัพบกคงจะต้องปรับหน่วยสนับสนุนการรบและช่วยรบ ของแต่ละกองพลทหารราบที่มี 10 กองพล และกองพลทหารม้าทั้ง 3 กองพล ให้สามารถแบ่งย่อยและกระจายลงไปในแต่ละกรมผสมให้ได้ก่อน และการปรับส่วนบัญชาการรบของแต่ละกองพลให้สอดคล้องกับรูปแบบกรมผสม นั่นคือ การปรับหน่วยในระดับกองพล ขณะที่หน่วยในระดับรองลงไปตั้งแต่กรม กองพัน กองร้อย หมวด หมู่ จะยังคงเป็นไปตามเดิม เพราะในการตั้ง BCT จะนำกรมดำเนินกลยุทธที่มีอยู่แล้วในแต่ละกองพลไปใช้จัดตั้งได้ทันที อย่างไรก็ดีส่วนบังคับบัญชาของ BCT จะต้องมีขีดความสามารถสูงขึ้นกว่าส่วนบังคับบัญชาของกรมดำเนินกลยุทธที่มีอยู่เดิม เพื่อให้รับกับหน่วยที่เพิ่มเติมเข้ามาใน BCT

ส่วนขั้นต่อไปอาจปรับโครงสร้างหน่วยสนับสนุนต่างๆ เช่น กองพลทหารปืนใหญ่ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพลทหารช่าง กรมบิน ให้สามารถแบ่งย่อยเพื่อไปสนับสนุนแต่ละกรมผสมได้ตามสถานการณ์

สำหรับในระดับกรมดำเนินกลยุทธนั้น กองทัพบกไทยอยู่ระหว่างการปรับอัตราโครงสร้างของกรมทหารราบและกองพันทหารราบ ให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการปรับโครงสร้างตามแนวคิด BCT

อย่างไรก็ตามปัญหาใหญ่ของการจัดหน่วยแบบ BCT ซึ่งเป็นการจัดแบบถาวร อาจเป็นเรื่องการย้ายที่ตั้งหน่วย กรณีที่หน่วยขึ้นตรงต่างๆ ของกองพลไม่ได้อยู่รวมกันทั้งกองพล และจะมีผลกระทบต่อครอบครัวของกำลังพลได้

BCT ย่อมาจาก brigade combat team หรืออาจเรียกว่า กองพลน้อยชุดรบ เป็นรูปแบบการจัดหน่วยรบของกองทัพบก BCT มาจาก 2 คำรวมกัน คือ กองพลน้อย กับชุดรบ คำว่ากองพลน้อย หมายถึง BCT เป็นหน่วยที่มีขนาดใหญ่กว่ากรม แต่เล็กกว่ากองพล ส่วนคำว่าชุดรบ หมายถึง BCT เป็นหน่วยที่มีการผสมหลายเหล่าทั้งราบ ม้า ปืนใหญ่ ช่าง สื่อสาร เป็นต้น และมีทั้งส่วนดำเนินกลยุทธ สนับสนุนการรบ และช่วยรบ เพื่อให้มีความสมบูรณ์และรบได้ดัวยตัวเองเป็นอิสระจากหน่วยเหนือขึ้นไป

BCT เล็กกว่ารูปแบบการจัดหน่วยรบที่นิยมใช้แต่เดิม คือ กองพล เดิมนั้นกองพลประกอบด้วยกรมดำเนินกลยุทธ 3 กรม เช่น กองพลทหารราบ แบ่งเป็น 3 กรมทหารราบ พร้อมทั้งหน่วยสนับสนุนการรบและช่วยรบต่างๆ เช่น กรมทหารปืนใหญ่ กองพันทหารช่าง กองพันทหารสื่อสาร กองพันเสนารักษ์ ขณะที่แกนหลักของ BCT คือ กรมดำเนินกลยุทธ เพียง 1 กรม แล้วเพิ่มส่วนสนับสนุนการรบและช่วยรบเข้าไปให้มีความสมบูรณ์เหมือนกองพลเดิม นั่นทำให้ BCT มีขนาดหน่วยที่ใหญ่กว่ากรม จึงเป็นที่มาของคำว่ากองพลน้อยนั่นเอง ดังนั้นถ้า 1 กองพลทหารราบ มี 3 กรมทหารราบ เมื่อเปลี่ยนเป็น BCT จะมี 3 BCT ทั้งนี้หน่วยสนับสนุนการรบและช่วยรบในกองพล ก็จะถูกแบ่งเป็นหน่วยย่อยตามจำนวน BCT ด้วย เพื่อรองรับแต่ละ BCT เช่น กองพันทหารช่างของกองพล จะถูกแบ่งเป็น 3 กองร้อยทหารช่างให้กับแต่ละ BCT

อาจกล่าวได้ว่าแนวคิด BCT มีต้นกำเนิดจากกองทัพบกสหรัฐฯ ที่ส่งทหารไปปฏิบัติภารกิจทั่วโลกอยู่ตลอด สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้กำลังในยุคหลังสงครามเย็น ที่ต้องการหน่วยรบที่เล็กลง แต่มีหลายหน่วยสามารถแยกไปปฏิบัติการได้หลายที่ มีความพร้อมรบสูง พร้อมออกปฏิบัติการได้ในเวลาอันสั้น และปฏิบัติการได้ต่อเนื่องตลอด รวมทั้งปฏิบัติการได้ในทุกรูปแบบและทุกระดับความขัดแย้ง นั่นทำให้โอกาสการใช้กำลังทั้งกองพลในคราวเดียวมีน้อยลง และการจะให้กองพลทั้งกองพลออกปฏิบัติการพร้อมกันได้ในคราวเดียวก็ต้องใช้เวลานาน แต่เดิมสหรัฐฯ ไม่ได้จัดหน่วยในลักษณะ BCT อย่างถาวร แต่เป็นการจัดในลักษณะเฉพาะกิจ เรียกว่า brigade task force หรือกองพลน้อยเฉพาะกิจ ในยุค 1990 จนมาปรับเปลี่ยนเป็น BCT แบบถาวรตั้งแต่ประมาณปี 2006 เป็นต้นมา BCT เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหน่วยรบครั้งใหญ่ที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

BCT ของกองทัพบกสหรัฐฯ แบ่งเป็น 3 แบบ คือ Infantry BCT (IBCT) Stryker BCT (SBCT) และ Armored BCT (ABCT) จุดหลักต่างกันที่กรมดำเนินกลยุทธซึ่งแกนหลักของหน่วย เรียงตามลำดับจากเบาไปหาหนัก โดย IBCT จะเป็นกรมทหารราบเบาหรือส่งทางอากาศ SBCT จะเป็นกรมทหารราบ ที่ใช้รถเกราะล้อยาง 8×8 Stryker ขณะที่ ABCT จะเป็นกรมทหารราบยานเกราะ ที่ใช้รถถังและยานเกราะสายพาน

เมื่อมี BCT แล้ว กองพลจะลดบทบาทเป็นเพียงส่วนบัญชาการ และจะใช้เมื่อทำการรบแล้วใช้กำลังมากกว่า 1 BCT เพราะแต่ละ BCT สามารถทำการรบได้ด้วยตัวเองแล้ว ส่วนในที่ตั้งปกติกองพลยังคงดูแลด้านธุรการให้กับหน่วยขึ้นตรงตามเดิม

แนวคิด BCT ยังมาพร้อมกับแนวคิดเรื่องโมดูลด้วย คือ การทำให้หน่วยรบและหน่วยสนับสนุนต่างๆ ในกองทัพมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด สามารถสับเปลี่ยนโยกย้ายทำภารกิจทดแทนกันได้หมด เพิ่มหรือลดหน่วยสนับสนุนได้ตามสถานการณ์และความจำเป็น

การที่กองทัพบกไทยจะนำแนวคิด BCT มาใช้ จะทำให้ต้องจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่หรือไม่ คงไม่จำเป็น เพราะเป็นแนวคิดรูปแบบการจัดหน่วยรบ ไม่ใช่แบบหรือขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ การจัดหายุทโธปกรณ์ต่างๆ สามารถเป็นไปตามแผนเดิมได้ และไม่เกี่ยวกับว่าเมื่อใช้แนวคิด BCT จากสหรัฐฯ ต้องจัดหายุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯ ตามไปด้วย และการใช้แนวคิด BCT ก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องจัดหน่วยรบตามแบบ BCT ของสหรัฐฯ ทุกอย่าง ทั้งนี้กองทัพบกไทยได้เคยทดลองใช้แนวคิด BCT ไปหลายครั้งในการฝึก โดยเป็นการจัดลักษณะเฉพาะกิจ ทั้งรูปแบบของกรมทหารราบและกรมทหารม้าอ

BCT ของกองทัพบกไทย จะเป็นกำลังรบผสมเหล่าระดับกรม เรียกว่า กรมผสม โดยกองทัพไทยไม่มีหน่วยระดับกองพลน้อย กรมผสมจะมีหลายแบบตามลักษณะการจัดหน่วยดำเนินกลยุทธ เช่น ทหารราบ ทหารราบยานเกราะ ทหารม้า

เมื่อจะใช้แนวคิด BCT ขั้นแรกกองทัพบกคงจะต้องปรับหน่วยสนับสนุนการรบและช่วยรบ ของแต่ละกองพลทหารราบที่มี 10 กองพล และกองพลทหารม้าทั้ง 3 กองพล ให้สามารถแบ่งย่อยและกระจายลงไปในแต่ละกรมผสมให้ได้ก่อน และการปรับส่วนบัญชาการรบของแต่ละกองพลให้สอดคล้องกับรูปแบบกรมผสม ส่วนขั้นต่อไปอาจปรับโครงสร้างหน่วยสนับสนุนต่างๆ เช่น กองพลทหารปืนใหญ่ กองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน กองพลทหารช่าง กรมบิน ให้สามารถแบ่งย่อยเพื่อไปสนับสนุนแต่ละกรมผสมได้ตามสถานการณ์

 #1 ผมจะขอเปรีบเทียบแบบงานมโน 

กองพล อาจจะเหมือนโต๊ะจีนชุดใหญ่ จัดเต็ม นั่งกันสิบคนเหลือ แปดคนจุก กินกันจนอาจจะต้องห่อกลับบ้าน

ข้อดีคือไม่ต้องคิดมาก คือ จัดเต็มมาทุกอย่าง

แต่ข้อเสียคือ ถ้าแขกมาไม่เต็ม อาหารก็เหลือ เหลือกันแบบ หมาที่บ้านยิ้มไปสามวัน แล้ว มันเปลือง ใช้เวลาเตรียมการเยอะ ดีไม่ดีไมมีคนกิน

แล้วเวลาจะจัดโต๊ะจีนมันมีองค์ประกอบด้านหลังเยอะ สั่งห้าโต๊ะสิบโต๊ะก็ไม่ค่อยย่อมากัน แต่ก็เข้าใจ เพราะโสหุ้ยมันเยอะ

*** จุดสำคัญ อาจจะไม่คุ้มค่าซอง

#2 กองพลน้อยชุดรบ

ก็อยากให้แขกกินของดีๆ แต่เวลาจะเลี้ยงก็ต้องดูกำลังแขก แล้วแขกก็ต้องดูกำลังเจ้าภาพ ดังนั้น Set Menu ที่ยังมีชุดหลักๆอยุ่เหมือนเดิม ลดปริมาณลงไปบ้าง แต่คุณภาพจานหลักยังเหมือนเดิม อันนี้ หมาที่บ้านอาจจะยิ้มได้แค่มื้อเดียว เพราะเหลือไม่เยอะ แต่ดูแล้ว น่าจะสมน้ำสมเนื้อ สมกับซองที่แขกเหน็บรักแร้มา

ปัญหาใหญ่ของการจัดหน่วยแบบกรมผสมเป็นการถาวร อาจเป็นเรื่องการย้ายที่ตั้งหน่วย กรณีที่ไม่ได้อยู่รวมกันทั้งกองพล จะมีผลกระทบต่อครอบครัวของกำลังพลได้

#3 กรมผสม

แบบที่ ทบ. ฝีกอยู่ ผมว่ามันเหมือนไปเหลา ไปร้านข้าวต้ม เพราะไม่ได้กำหนดตายตัวว่าใครจะอยู่ ใครจะไป จะจัด Grouping กันแบบไหน

เหมือนตอนไปถึงแล้วต้องนั่งงงกับเมนูอยู่ซักพักว่าจะเอาอะไรดี จะเป็ดหรือจะไก่ จะต้มจืด หรือ ต้มยำ ตรงนี้ อาจจะพอดีตามความต้องการที่สุด แต่ มันเสียเวลานั่งมองหน้ากันว่า ใครจะเปิด ใครจะจ่ายจัดการ

รูปแบบการจัดหน่วยกองพลน้อยชุดรบ (BCT)

Infantry BCT (IBCT)

กองพันทหารราบ

  • กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ/1 x หมวดลาดตระเวน /1 x หมู่ซุ่มยิง /หมวด ค.81 และ ค.120
  • 3 x กองร้อยปืนเล็ก แยกเป็น 3 หมวดปืนเล็ก / 1 หมู่อาวุธ /1 ตอน ค.60
  • 1 x กองร้อยต่อสู้รถถัง / 4 หมวดโจมตี / ยานยนต์ติดจรวดต่อสู้รถถัง 4 คัน

  กองพันลาดตระเวน

  • กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ
  • 2 x กองร้อยลาดตระเวนยานเกราะ (Stryker)/ 3 หมวดลาดตระเวน ยานเกราะล้อยาง 18 คัน/ 1 ตอน ค.120
  • 1 x กองร้อยลาดตระเวนเดินเท้า/ 2 x หมวดลาดตระเวน / 1 x หมู่ซุ่มยิง

กองพันปืนใหญ่

  • 2 x กองร้อยปืนใหญ่ / M119 105 มม / M777A2 155 มม
  • 1x AN/TPQ 36
  • 5 x AN/TPQ 48 LCMR    

กองพันหน่วยพิเศษ   

  • กองร้อยทหารช่าง
  • กองร้อยข่าวกรองทางทหาร
  • กองร้อยสื่อสาร
  • หมวดสารวัตทหาร
  • หมวดลาดตระเวน คชรน.
  • เสนารักษ์

 Stryker BCT (SBCT) 

  กองพันทหารราบ

  • กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ
  • 3 x กองร้อยปืนเล็ก (Stryker)

 กองพันทหารม้า

  •    กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ
  •    3 x กองร้อยทหารม้า (Stryker)
  • หน่วยต่อสู้รถถัง /9 x ATGM / 12 x M1128 Mobile Gun System

 กองพันปืนใหญ่

  • 3 x กองร้อยปืนใหญ่สนาม/ป.155 แบบ M777A2 จำนวน 18 กระบอก
  • 1x AN/TPQ 36
  • 1 x AN/TPQ 37
  • 5 x AN/TPQ 48 LCMR

กองพันทหารช่าง

  • กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ
  • กองร้อยทหารช่าง
  • กองร้อยสนับสนุนทหารช่าง
  • กองร้อยสื่อสาร
  • กองร้อยข่าวกรองทางทหาร

กองพันสนับสนุน

  • กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ
  • 4 x กองร้อยสนับสนุน
  • กองร้อยแจกจ่าย
  • กองร้อยซ่อมบำรุงหน้า
  • กองร้อยเสนารักษ์

Armored BCT (ABCT)

กองพันผสมเหล่า

  •     2 x กองร้อยรถถัง
  •     2 x กองร้อยทหารราบยานเกราะ

กองพันยานเกราะ

  • กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ
  • 2 x กองร้อยรถถัง
  • 1 x กองร้อยทหารราบยานเกราะ

กองพันทหารราบยานเกราะ

  • กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ
  • 1 x กองร้อยรถถัง
  • 2 x กองร้อยทหารราบยานเกราะ

กองพันทหารม้ายานเกราะ

  • กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ
  • 3 x กองร้อยทหารม้า
  • 1 x กองร้อยรถถัง

กองพันปืนใหญ่

  • 3 x กองร้อยปืนใหญ่ / M 109 155 มม.

กองพันสนับสนุนกรมผสม

  •    4 x กองร้อยสนับสนุน
  •    กองร้อยส่งกำลัง
  •    กองร้อยซ่อมบำรุงสนาม
  •    กองร้อยเสนารักษ์

กองพันทหารช่าง

  • กองบังคับการและกองร้อยบังคับการ
  • 2 x กองร้อยทหารช่าง
  •  กองร้อยข่าวกรองทางทหาร
  •  กองร้อยสื่อสาร

รูปแบบการจัดกองพลน้อยของกองทัพบกออสเตรเลีย

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.