นายกสิงคโปร์เตือน การเผชิญหน้ากันของสหรัฐและจีนจะส่งผลต่อศตวรรษแห่งเอเชีย

นายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง ของสิงคโปร์เขียนบทความที่ชื่อ “The Endangered Asian Century. America, China, and the Perils of Confrontation” ลงในนิตยสาร Foreign Affair Magazine มองว่าปัญหาความข้ดแย้งระหว่างสหรัฐและจีนอาจส่งผลให้ศวรรษของเอเชียที่สื่อถึงความสำเร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจของเอเชียต้งอหยุดชะงัก และประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ไม่ต้องการถูกบังคับให้ต้องเลือกข้างระหว่างจีนและสหรัฐ และยังเรียกร้องให้ทั้งสองประเทศหาทางออกในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและสร้างเสถียรภาพโลกร่วมกัน


ลี เซียน ลุงกล่าวว่า หลังจากหลายทศวรรษของความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ ทุกวันนี้เอเชียคือภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก และภายในทศวรรษนี้ เศรษฐกิจของเอเชียจะมีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจของภูมิภาคอื่นทั่วโลกรวมกัน ซึ่งเขามองว่าเป็นเพราะสภาวะ Pax Americana หรือสันติภาพอเมริกัน (ซึ่งเป็นการที่สหรัฐครองอำนาจทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลกแต่เพียงผู้เดียวตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา โดยมีจุดเริ่้มต้นจาก Marshall Plan) ที่สร้างบรรยากาศที่เป็นใจให้มีการเติบโต แต่ใจปัจจุบัน ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีนนำไปสู่คำถามเกี่ยวกับอนาคตของเอเชียและระเบียบของโลก ชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมถึงสิงคโปร์) จึงเป็นกังวลอย่างมากเพราะภูมิภาคนี้เป็นเสมือนจุดตัดของมหาอำนาจของโลก ซึ่งทำให้ต้องหลีกเลี่ยงในการตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งหรือถูกบังคับให้ต้องเลือกข้าง

ดังนั้นเขาบอกว่านโยบายของเอเชีย (status quo) จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะนำมาสู่ความสำเร็จที่มีเสถียรภาพหรือความล้มเหลวที่ไร้เสถียรภาพนั้น ขึ้นอยู่กับทางเลือกที่สหรัฐและจีนเลือกเดินด้วย ไม่ว่าอย่างไร มหาอำนาจทั้งสองชาติจะต้องหาทางแข่งขันกันอย่างสันติในบางด้านโดยไม่ทำลายความร่วมมือกันในด้านอื่น (modus vivendi)

ลี เซียน ลุงยังเตือนว่า ประเทศในเอเชียมองสหรัฐเป็นมหาอำนาจที่มีผลประโยชน์ในภูมิภาค และในขณะเดียวกันก็มองจีนเป็นมหาอำนาจที่อยู่ใกล้เคียง ดังนั้นประเทศในเอเชียจึงไม่ต้องการถูกบังคับให้ต้องเลือกข้าง และถ้าใครสักคนพยายามบังคับให้ต้องเลือก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐที่บังคับให้ช่วยปิดกันการขยายตัวของจีน หรือจีนที่บังคับให้รับอิทธิพลของตน มันจะทำให้เกิดการเผชิญหน้าที่จะยาวนานไปอีกหลายทศวรรษ และจะทำลายศตวรรษของเอเชียในที่สุด


สันติภาพอเมริกันสองระยะ

ลี เซียน ลุงวิเคราะห์ว่าสันติภาพอเมริกันที่เกิดในเอเชียนั้นมีสองระยะ คือระหว่างปี 1945 และ 1970 ที่แม้จะเป็นช่วงสงครามเย็น และประเทศคอมมิวนิสต์มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจแค่ภายใน แต่ที่อื่นภายใต้สหรัฐนั้นสนับสนุนการค้าเสรี ซึ่งได้ทำให้เกิดผู้นำเศรษฐกิจใหม่ในเอเชียคือญี่ปุ่น ตามมาด้วยฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน รวมถึงการที่สหรัฐส่งเสริมการเปิดกว้างและการรวมกลุ่มกันของเอเชีย และการถ่ายโอนเงินทุน เทคโนโลยี และแนวคิดมาสู่เอเชีย ทำให้การค้าของเอเชียและสหรัฐเติบโตขึ้นมาก

ระยะที่สองของสันติภาพอเมริกันเริ่มในปี 1971 ที่สหรัฐเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ปิดฉากหลายทศวรรษแห่งการเป็นศัตรูและเปิดประตูการค้ากับจีน รวมถึงนโยบายเปิดประเทศของเติ้งเสี่ยวผิงที่ทำให้เศรษฐกิจของจีนเริ่มเติบโต การยุติสงครามเวียดนามก็ทำให้ประเทศในอินโดจีนสามารถมุ่งทรัพยากรมาที่การพัฒนาประเทศได้ ซึ่งนั่นทำให้ประเทศในเอเชียมักจะมองสหรัฐเป็นพันธมิตรหลักทางเศรษฐกิจ แต่ก็คว้าโอกาสที่เกิดขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนเช่นเดียวกัน

และนั่นทำให้ประเทศในเอเชียได้รับประโยชน์อย่างสูงจากโลกทั้งสองฝ่าย คือสร้างสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีนในขณะที่รักษาความสัมพันธ์กับสหรัฐและประเทศมหาอำนาจอื่น และประเทศในเอเชียก็ยังมุ่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันซึ่งนำมาสู่การก่อตั้ง ASEAN และ APEC ที่จีนก็เข้าร่วมอย่างแข่งขันในทุกกรอบความร่วมมือ แต่ด้วยโครงสร้างที่ถูกออกแบบมาให้เปิดกว้าง ทำให้สหรัฐยังคงเป็นผู้เล่นสำคัญในภูมิภาค และยังรวมถึงสหภาพยุโรป อินเดีย และอีกหลายประเทศที่ ASEAN มีความร่วมมือด้วย

แต่การเติบโตของจีนก็เปลี่ยนพื้นฐานทางยุทธศาสตร์ของภูมิภาค จีนเริ่มเปลี่ยนจากนโยบายที่เก็บจุดแข็งของตนไว้กับตัวและรอเวลาตามแนวคิดของเติ้งเสี่ยวผิง มาสู่นโยบายของผู้นำจีนในปัจจุบันคือการมองตนเองเป็นมหาอำนาจของทวีปและมหาอำนาจทางทะเลด้วยการลงทุนพัฒนากองทัพในทุกด้านเพื่อปกป้องและขยายผลประโยชน์ของจีนไปทั่วโลก รวมถึงรักษาตำแหน่งที่เหมาะสมของตนคือการเป็นผู้นำในการเมืองระหว่างประเทศ ในขณะที่สัดส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจโลกเริ่มลดลง และแนวคิด America Fist ก็ทำให้เกิดคำถามว่าสหรัฐยังคงต้องการรับภาระในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพของโลกอยู่หรือไม่


ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.