บทบาทของทั้งสองฝ่ายคือ
กองทัพอากาศไทย
- กำหนดความต้องการและมาตรฐาน
- ทดสอบและประเมินผล
- พํฒนาแนวทางการปฏิบัติการและการรบ
กำหนดความต้องการด้านการบูรณาการระบบต่าง ๆ เข้ากับ Operational Flight Program หรือ OFP - ติดตั้งและบูรณาการทางกายภาพ
- รับการถ่ายเทคโนโลยีด้าน OFP ของ Alpha Jet
- รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทำให้กองทัพอากาศสามารถบูรณาการระบบอาวุธใหม่ที่ ทอ. จะจัดหามาติดตั้งกับ Alphajetในอนาคต
บริษัท อาร์ วี คอนเน็คซ์ จำกัด
- เป็นคู่สัญญากับกองทัพอากาศ
- ออกแบบและผลิตชิ้นส่วนอากาศยานที่จะติดตั้งบน Alpha Jet ทั้งหมด
- ติดตั้งระบบ Avionic ระบบสื่อสาร ระบบนำร่อง ระบบอาวุธ ระบบ Night vision
- ติดตั้งระบบเครือข่ายข้อมูลทางยุทธวิธี (Datalink) ระหว่างอากาศยาน และระหว่างอากาศยานและภาคพื้นดินเพื่อภารกิจสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด
- ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสนับสนุนทางเทคนิคให้กับกองทัพอากาศ
- บูรณาการระบบอาวุธเข้ากับ OFP
- จัดตั้งห้องปฏิบัติการบูรณาการระบบ
- พัฒนาอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ
งานที่ดำเนินการประกอบไปด้วย
(1) โครงสร้างอากาศยาน: คาดว่าเป็นการซ่อมเพื่อให้มีอายุใช้งานได้นานขึ้น โดยเยอรมนีรับมอบ Alpha Jet มาใช้งานในปี 1979-83 และปลดประจำการในปี 1998 คือใช้ไปแล้ว 19-23 ปี กองทัพอากาศไทยรับมอบมามาปี 2000-2001 นับถึงตอนนี้ 19-20 ปี โดยรวมจึงมีอายุใช้งานใช้ไปประมาณ 38-43 ปี หลังการอัพเกรดคาดว่ากองทัพอากาศคงใช้ต่อไปอีก 15-20 ปี รวมอายุการใช้งานของเครื่องน่าจะอยู่ที่ราว 58 – 63 ปี
ณ ปัจจุบันคาดว่าอายุใช้งานไม่ต่ำกว่า 5,000 ชม.บิน และการอัพเกรด 14 จาก 19 ลำ น่าจะทำให้มีชิ้นส่วนสับเปลี่ยนได้จนปลดประจำการ
(2) ห้องนักบิน: ออกแบบค็อกพิทใหม่ เป็น Full glass cockpit มีจอแสดงผล MFD ขนาดใหญ่ 3 ชุด โดย 1 ใน 3 คาดว่าเป็น HSD แสดงแผนที่เคลื่อนที่กับข้อมูลจาก TDL (Link-T) และจอ HUD พร้อม UFCP (ที่นั่งหน้า) นอกจากนี้คาดว่ามีการวางระบบ NVIS/NVG เพื่อให้ปฏิบัติการกลางคืนได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
