กองทัพอากาศไทยกับการปรับปรุงเครื่องบินโจมตี Alphajet

(3) OFP (operational flight program): สร้างซอฟท์แวร์ในคอมพิวเตอร์ภารกิจ ตามข้อกำหนดของ ทอ. ใช้ควบคุมระบบเซ็นเซอร์ อาวุธ เดินอากาศ สื่อสาร แสดงข้อมูล

(4) TDL (tactical datalink): Link-T ที่กองทัพอากาศพัฒนาขึ้นเอง ทำให้ Alpha Jet เชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่าย C2 ของ ทอ. ได้ ทำหน้าที่ได้ทั้งการเป็นแพลตฟอร์มที่เป็น shooter เป็น airborne sensor node และช่วยเพิ่มการรับรู้สถานการณ์ให้นักบิน

ขีดความสามารถของ Link-T TDL ที่จะติดตั้งบน Alpha Jet จะสามารถ

  • แสดงผล ระบุตำแหน่ง และระบุฝ่ายได้ใกล้เคียงเวลาจริง (Near Real-Time Percise Participant Location and Identification: PPLI)
  • สถานะของอาวุธของเครื่อง (Store Status)
  • สถานะสงครามอิเล็กทรอนิกส์
  • กำหนดลำดับของเครื่องบินในฝูงบิน (Directed Order of Fleet)
  • ข้อความตัวอักษร (Predifined Tect Message)
  • การตั้งค่าเครื่องบินฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึกสำหรับการฝึก (Blue and Red Team Configuration)

(5) Smart weapon: โดยตำรงขีดความสามารถในการใช้อาวุธเดิมคือกระเปาะจรวด ระเบิดธรรมดา และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-9 Sidewinder และจะเพิ่มขีดความสามารถในการใช้อาวุธที่มีความแม่นยำสูง (PGM/ASM) ซึ่งสำคัญต่อการโจมตีภาคพื้นดินสมัยใหม่ ทั้งนี้ ยังไม่มีรายละเอียดระบบอาวุธที่กองทัพอากาศจะเลือกใช้ ที่คาดว่าขั้นต่ำน่าจะเป็นระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ แต่ไม่มีข้อมูลว่ากองทัพอากาศจะสนใจจัดหา Targeting pod มาใช้ร่วมกันหรือไม่ ขณะที่กระเปาะปืนใหญ่อากาศ ซึ่งเป็นอาวุธที่ขาดหายไปตั้งแต่ Alpha Jet เข้าประจำการ ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการติดตั้งเพิ่มหรือไม่

ซึ่งการดำเนินการในโครงการนี้ นอกจากจะเป็นการยืดอายุการใช้งานเครื่องบินโจมตีแบบนี้ให้ใช้งานไปได้อีกจนถึงอายุกว่า 60 ปี และน่าจะเป็น Alpha Jet ฝูงสุดท้ายในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศขึ้นในประเทศ การร่วมมือกับบริษัทเอกชนของไทยในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเทคโนโลยีอากาศยาน รวมถึงการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานที่จะใช้ในโครงการนี้ขึ้นในประเทศ ล้วนเป็นแนวทางที่จะช่วยให้การใช้จ่ายงบประมาณทางทหารส่วนใหญ่หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของไทย แทนที่จะออกไปนอกประเทศเกือบทั้งหมดแบบการจัดซื้อาวุธทั่วไป และบริษํทเอกชนของไทยยังได้มีโอกาสพัฒนาขีดความสามารถระดับสูง เพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนางานและออกสู่ตลาดโลกในอนาคต ถือเป็นแนวทางที่ภาครัฐควรจะส่งเสริมให้เป็นมาตรฐานของการจัดหาอาวุธของไทยต่อไปครับ/TAF

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.