19 มิ.ย. นี้ พบกับโฉมใหม่ของอู่ตะเภา ทร. ถอยให้เอกชนบริหาร

การก่อสร้างและปรับปรุงท่าอากาศยานอู่ตะเภาจะแบ่งเป็น 4 ระยะคือ

  • ระยะที่ 1 เป็นการสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 พร้อมกับการสร้างรันเวย์ที่ 2 ที่กองทัพเรือและรัฐบาลจะลงทุนสร้างให้ พร้อมกับเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสามสนามบินของกลุ่ม CP รวมถึงพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในท่าอากาศยาน ซึ่งจะทำให้ท่าอากาศยานอู่ตะเภารองรับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคนต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567
  • ระยะที่ 2 ขยายการรองรับผู้โดยสารไปที่ 30 ล้านคน และจัดทำระบบขนส่งมวลชนเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามายังท่าอากาศยาน
  • ระยะที่ 3 เพิ่มการรองรับผู้โดยสารไปที่ 45 ล้านคน
  • ระยะที่ 4 เพิ่มการรองรับผู้โดยสารไปที่ 60 ล้านคน

โดยงบประมาณการลงทุนในระยะที่ 1 นั้นเป็นจำนวน 4 หมื่นล้านบาท และจะทำการลงทุนในระยะที่ 2 เมื่อมีจำนวนผู้โดยสาร 85% ของความจุผู้โดยสารในระยะแรก นอกจากนั้นยังมีการจัดสร้างศูนย์การขนส่งสินค้า การขนส่งสินค้าภาคพื้นดิน ธุรกิจเกี่ยวเนื่องต่าง ๆ เพื่อช่วยหารายได้นอกจากการปฏิบัติการบินอย่างเดียว


ไม่แน่ว่า ด้วยการบริหารอย่างมืออาชีพทั้งผู้เชี่ยวชาญจาก Narita และ Bangkok Airways รวมถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะของ BTS และ Sino ไทย โดยเฉพาะบทบาทของอู่ตะเภาที่จะมาอุดช่องว่างของสุวรรณภูมิในด้านการชนส่งสินค้า เราอาจจะได้เห็นท่าอากาศยานที่มีประสิทธิภาพและมีการบริหารงานที่โดดเด่น ซึ่งเผลอ ๆ อาจจะดีกว่าการบริหารงานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วยซ้ำ และถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนและแนวคิด Aerotropolis ได้ถูกนำมาใช้งานจริงอย่างครบถ้วน ท่าอากาศยานอู่ตะเภาก็จะเปลี่ยนจากฐานทัพของเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 ของกองทัพอากาศสหรัฐในสงครามเวียดนาม มาเป็นท่าอากาศยานของกองทัพเรือและเครื่องบินเช่าเหมาลำ ไปสู่ท่าอากาศยานหลักแห่งหนึ่งของชาติ ที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การขนส่งให้กับประเทศไดัต่อไปครับ/TAF

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.