โครงการจัดหาเครื่องบินฝึก/โจมตีแบบ T-6TH/A-6TH นี้มีข้อกำหนดสำคัญประการหนึ่งก็คือ กองทัพอากาศจะต้องได้สิทธิในการแก้ไขปรับปรุงระบบต่าง ๆ ของเครื่อง โดยเฉพาะซอฟแวร์ Operation Flight Program ที่เป็นซอฟแวร์ควบคุมเครื่อง เพื่อให้กองทัพอากาศสามารถติดตั้งระบบอื่น ๆ ที่ต้องการได้เอง รวมถึงจะต้องมีการผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนในประเทศไทย และทำการประกอบรวมขั้นสุดท้ายในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและอุตสากรรมของไทยมีโอกาสได้รับเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเพิ่มการจ้างงานคนไทยในตำแหน่งงานที่ต้องใช้ทักษะสูง รวมถึงยังเป็นการดึงงบประมาณบางส่วนให้ยังอยู่ในระบบเศรษฐกิจของไทยอีกด้วย
ดังนั้น เราคาดว่าจะมีบริษัทต่าง ๆ เป็น Partner ในโครงการของกองทัพอากาศ ดังนี้
- Textron Aviation (สหรัฐอเมริกา)
ในฐานะบริษัทแม่ของ Beechcraft ซึ่งเป็นผู้ผลิตอากาศยานลำนี้ โดยจะมีบทบาทในการผลิตชิ้นส่วนส่วนใหญ่ของอากาศยาน ดูแลการบูรณาการระบบร่วมกับบริษัทของไทย ควบคุมดูแลการผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนที่ดำเนินการโดยผู้ผลิตของไทย และควบคุมดูแลสายการประกอบรวมขั้นสุดท้ายในประเทศไทย
- Lockheed Martin (สหรัฐอเมริกา)
ในฐานะบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์และระบบสำหรับเครื่องบินรุ่นโจมตี AT-6 หรือที่กองทัพอากาศไทยเรียกว่า A-6TH โดยจะรับผิดชอบการจัดหาอุปกรณ์และดูแลการบูราการณ์ระบบต่าง ๆ ของรุ่นโจมตี รวมถึงทำงานร่วมกับบริษัทของไทยในการบูรณาการณ์ระบบอาวุธ
- CMC Electronic (แคนาดา)
ในฐานะผู้ผลิตระบบ Avionic และออกแบบห้องนักบินของอากาศยาน
- Diehl Defense (เยอรมนี)
ในฐานะผู้ผลิตจรวดอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้แบบ IRIS-T ซึ่งจะทำงานร่วมกับบริษัทของไทยในการบูรณาการณ์ระบบของ A-6TH ให้ใช้งาน IRIS-T
- R V Connex (ไทย)
ในฐานะผู้ดำเนินการบูรณาการณ์ระบบต่าง ๆ ของอากาศยาน การแก้ไขปรับปรุงซอฟแวร์ และร่วมกับพันธมิตรที่เป็นบริษัทไทยอื่น ๆ ในการผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนของอากาศยาน
- Thai Aviation Industry (ไทย)
รัฐวิสาหกิจของกองทัพอากาศ รับผิดชอบสายการประกอบรวมขั้นสุดท้าย และเป็นผู้จัดการโครงการทั้งหมดให้กับกองทัพอากาศ

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม
รู้จัก T-6 Texan II เครื่องบินฝึก/โจมตีแบบใหม่ของกองทัพอากาศไทย
https://thaiarmedforce.com/2020/08/21/rtaf-t-6-texan-ii-introduction/
ซื้ออาวุธไทยไม่โดนตัดงบ เป็นไปได้แล้วที่ #กองทัพอากาศ
https://thaiarmedforce.com/2020/08/20/rtaf-an-example-for-defense-industry-dev/
กองทัพอากาศเลือกแบบ T-6/AT-6 เป็นเครื่องบินฝึก/โจมตีแบบใหม่?
https://thaiarmedforce.com/2020/08/20/rtaf-select-t-6-at-6-taxan-ii/
2 thoughts on “บริษัทต่าง ๆ ในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึก/โจมตีแบบ T-6TH/A-6TH”