อาร์เมเนียและอาร์เซอร์ไบจันปะทะกันอีกแล้วในภูมิภาคนาโกรโน-คาราบัค ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งทหารและพลเรือนหลายสิบคน การปะทะในครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สองในปีนี้หลังจากมีการปะทะกันเมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา

ทั้งสองประเทศเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตมาก่อน หลังจากสหภาพโซเวียดล่มสลาย ทั้งสองฝ่ายก็อ้างสิทธิ์ในดินแดนนาโกรโน-คาราบัค ซึ่งเป็นพื้นที่ทีทีชาวอาร์เมเนียอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ถูกแบ่งไปให้อยู่ภายใต้การปกครองของอาร์เซอร์ไบจัน การอ้างสิทธิ์กลายมาเป็นสงครามในช่วงปี 1992-1994 ซึ่งผลลัพธ์ของสงครามคือชัยชนะของอาร์เมเนียที่สามารถเข้าควบคุมนาโกรโน-คาราบัคเอาไว้ได้ และถือว่าดินแดนนาโกรโน-คาราบัคนั้นเป็นสาธาราณรัฐอาซัคที่เป็นประเทศอิสระแต่นานาชาติไม่ได้ให้การรับรอง และอาร์เมเนียมีอิทธิพลในการปกครองประเทศแห่งนี้
ทั้งนี้ รัสเซียให้การสนับสนุนอาร์เมเนีย ส่วนอาร์เซอร์ไบจันนั้นได้รับการสนับสนุนจากตุรกี เนื่องจากเป็นเชื้อชาติเติร์กเหมือนกัน และตุรกีในสมัยที่เป็นจักรวรรดิออตโตมันเคยทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนียไปกว่าล้านคน แต่ตุรกีปฏิเสธไม่ยอมรับ
ในสงครามครั้งแรกชาติมหาอำนาจเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจาหยุดยิงจนเหตุการณ์สงบลงไปหลายปี แต่เริ่มมาเพิ่มความตึงเครียดใหม่เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยความขัดแย้งล่าสุดนั้นมีการยิงตอบโต้กันด้วยปืนใหญ่และใช้เครื่องบินโจมตีโจมตีเป้าหมายซึ่งกันและกัน
ทั้งสองฝ่ายกล่าวหาซึ่งกันและกันว่าเป็นต้นเหตุของความตึงเครียดล่าสุด โดยประธานาธิบดีของอาร์เซอร์ไบจันออกแถลงการณ์ระบุว่าชาวอาร์เซอร์ไบจันต้องเสียชีวิตจากการทิ้งระเบิดของอาร์เมเนีย แต่การกระทำของเรานั้นชอบธรรมและเราจะชนะ โดยกองทัพอาร์เซอร์ไบจันจะทำการต่อสู้บนผืนแผ่นดินของตัวเอง และจะยึดดินแดนทั้งหมดกลับมา ส่วนอาร์เมเนียประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศและในดินแดนนาโกรโน-คาราบัค โดยนายกรัฐมนตรีอาร์เมเนียออกแถลงการณ์ระบุให้เตรียมพร้อมในการปกป้องดินแดนมาตุภูมิอันศักดิ์สิทธิ์ และสั่งการเคลื่อนกำลังกองทัพเต็มรูปแบบ และประกาศความสำเร็จในการยิงเฮลิคอปเตอร์และโดรนที่ผลิตในอิสราเอลของอาร์เซอร์ไบจันตกได้
ท่าทีของนานาชาติรวมถึงรัสเซียต่างเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายหยุดยิง ยกเว้นตุรกีที่ประณามการรุกรานของอาร์เมเนีย และยังไม่แน่ชัดว่าสถานการณ์จะเริ่มเย็นลงหรือกลายเป็นส่งครามเต็มรูปแบบอีกครั้ง
ตารางสองภาพนี้เป็นการเปรียบเทียบกำลังรบของอาร์เมเนียและอาร์เซอร์ไบจัน โดยไม่ได้เปรียบเทียบในส่วนของกองทัพเรือเนื่องจากอาร์เมเนียเป็นประเทศที่ไม่ติดทะเล


โดยจะสังเกตุว่าอาร์เซอร์ใบจันมีขนาดกองทัพใหญ่กว่าอาร์เมเนียอย่างมีนัยยะสำคัญ คือมียุทโธปกรณ์สำคัญมากกว่าอาร์เมเนียราว ๆ 1 เท่า แต่ที่ผ่านมาเป็นฝ่ายอาร์เมเนียที่ค่อนข้างปฏิบัติการรบได้เปรียบมาหลายครั้ง แต่ทั้งนี้ ยุทโธปกรณ์ของทั้งสองประเทศต่างเป็นยุทโธปกรณ์ที่ผลิตในโซเวียตและรัสเซียเป็นหลัก แต่ในส่วนของอาร์เซอร์ไบจันนั้นมีการจัดหายุทโธปกรณ์จากอิสราเอลหลายรายการ โดยเฉพาะขีปนาวุธทางยุทธวิธีและอากาศยานไร้นักบินหรือโดรนที่มีรายงานว่าถูกอาร์เมเนียยิงตก
การสู้รบถ้าเกิดขึ้นจะเป็นการบุกของฝ่ายอาร์เซอร์ไบจันเข้ายึดดินแดนนาโกรโน-คาราบัคที่อาร์เมเนียควบคุมอยู่ ซึ่งไม่ใช่งานง่าย เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมาอาร์เมเนียมีการเสริมแนวป้องกันที่เข้มแข็ง ทั้งนี้ มีรายงานว่าอาร์เซอร์ไบจันจ้างกลุ่มกบฎซีเรียมาทำการรบในครั้งนี้ด้วย
ท่านที่สนใจภูมิหลังของความขัดแย้งนี้ในแง่ประวัติศาสตร์ สามารถอ่านบทความได้ที่ “Artsakh ประเทศที่ไม่มีอยู่จริง” ของเพจ The Wild Chronicles – เชษฐาครับ