กองทัพเรือประกาศงานจ้างสร้าง #โรงซ่อมเรือดำน้ำ หลังจากล่มมา 3 ครั้ง

กองทัพเรือประกาศงานจ้างก่อสร้างโรงซ่อมบำรุง #เรือดำน้ำ พร้อมระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน วงเงินงบประมาณ 957 ล้านบาท ราคากลางราว 917 ล้านบาท

การประกาศงานจ้างในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 แล้ว หลังจาก 3 ครั้งก่อนหน้านี้มีการประกาศงานจ้างไป โดยจ้างแบบเฉพาะเจาะจง หรือกำหนดชื่อ #ผู้รับเหมา เพื่อให้มายื่นซอง แต่ทั้งสามครั้ง ผู้รับเหมารายดังกล่าวไม่มายื่นซอง และไม่แจ้งเหตุผล การจัดหาจึงต้องยกเลิกไป

การประกาศครั้งใหม่มีลักษณะงานโดยสังเขปคือเป็นการก่อสร้างอาคารโรงซ่อมและลานเรือดำน้ำ โรงานซ่อมชิ้นส่วนประกอบตัวเรือ อาคารโรงงานแบตเตอรี่ อาคารเก็บเครื่องมือและชิ้นส่วนอะไหล่ อาคารโรงจ่ายไฟฟ้า อาคารโรงผลิตไอน้ำ อาคารทดสอบอุปกรณ์แรงดึง อาคารทดสอบอุปกรณ์แรงดัน ประตูและรั้วทีมพร้อมแผงกันฝุ่นและรั้วโปร่ง อาคารกองรักษาการณ์ ห้องน้ำ-ส้อม ถังน้ำใต้ดิน พร้อมโรงสูบและถังน้ำสูง พร้อมระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง

โดยคาดว่าครั้งนี้น่าจะเป็นการจ้างแบบเฉพาะเจาะจง คือกำหนดตัวผู้รับเหมาและเชิญให้มาเสนอราคาเช่นเดิม ทั้งนี้ไม่ทราบว่าบริษัทที่กองทัพเรือเฉพาะเจาะจงให้มาเสนองานนั้นเป็นบริษัทไทยหรือจีน แต่มีกระแสข่าวว่าเป็นเพราะการจัดสร้างโรงซ่อมบำรุงเรือดำน้ำนั้นเป็นสิ่งที่ประเทศไทยไม่เคยทำมาก่อน และเป็นความลับ จึงอาจเป็นบริษัทผู้รับเหมาจากประเทศจีน

ขอขอบคุณคุณ นฐนรรค์ มีจั่นเพ็ชร์ สมาชิก TAF ที่แจ้งข่าวในโพสนี้ครับ


TAF เห็นว่าการที่ #กองทัพเรือ เปิดโครงการจ้างมา 3 ครั้ง แต่ไม่มีผู้มายื่นงานสักครั้ง แม้จะเฉพาะเจาะจง คือไม่ต้องแข่งขันและประมูล สามารถมายื่นงานด้วยในเสนอราคาตามราคากลาง (ซึ่งราคากลางก็จัดทำตามใบเสนอราคาอันเดียวกัน) ก็สามารถชนะได้งานได้เลยนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสังเกตุพอสมควร

ทั้งนี้มีหลายคำอธิบายที่เราพอคาดเดาได้เช่น ปัจจุบันติดสถานการณ์โควิด-19 ผู้รับเหมาจากจีนหรือที่ปรึกษาจากจีนไม่สามารถเดินทางมาได้ หรือราคากลางและงบประมาณนั้นต่ำเกินไป จนผู้รับเหมาไม่สามารถรับงานได้ หรือด้วยเหตุผลอื่นใดที่ทำให้ผู้รับเหมาพิจารณาแล้วว่าทำงานไปก็ขาดทุน จึงไม่มายื่นเสนองานดังกล่าว

ทั้งนี้ TAF เห็นว่า แม้โรงซ่อมเรือดำน้ำจะเป็นของใหม่ ไม่ใช่ของที่เคยทำมาก่อนในประเทศไทย แต่มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ซับซ้อนเกินกว่าที่คนไทยจะทำได้ เรายกตัวอย่าง #รถไฟความเร็วสูงไทยจีน ที่ก็เป็นสิ่งที่ผู้รับเหมาไทยไม่เคยทำมาก่อนเช่นกัน แต่รัฐบาลไทยก็ใช้วิธีให้จีนออกแบบงานให้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการออกแบบให้กับบริษัทและหน่วยงานราชการไทยได้รับความรู้ ส่วนการก่อสร้างนั้น รัฐบาลให้กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการสร้างเฟสทดลอง 3.5 กิโลเมตร ซึ่งแม้จะเต็มไปด้วยปัญหาด้านการเบิกจ่ายและการจัดหาวัสดุที่ประเทศไทยยังไม่เคยทำมาก่อน รวมถึงแบบการสร้างที่ไทยไม่เคยทำ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/Thailand.Infra/photos/pcb.710985569339925/710981906006958/?type=3&source=48)

แต่สุดท้าย กรมทางหลวงก็สามารถจัดทำแบบ ทำรายการวัสดุ และดำเนินการก่อสร้างโดยใช้วัสดุในประเทศมากกว่า 95% และในการประมูลงานสร้างจริงก็มีผู้รับเหมาไทยจำนวนมากสามารถประมูลงานได้ ซึ่งผู้รับเหมาเหล่านั้นก็ไม่เคยก่อสร้าง #รถไฟความเร็วสูง และรัฐบาลไทยก็ให้ที่ปรึกษาจากจีนเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างเพื่อให้มั่นใจในคุณภาพ ทำให้คนไทยคือผู้ได้รับงานเป็นส่วนใหญ่ และสุดท้ายในเฟสที่สองของโครงการ จะเป็นคนไทยที่ออกแบบและก่อสร้าง 100%

อย่างที่ TAF เคยวิจารณ์ไปก็คือ โครงการต่อเรือดำน้ำของกองทัพเรือไทยที่จัดหาจากจีน ซึ่งรวมการจัดหาเรือดำน้ำ การก่อสร้าง และการซื้ออาวุธต่าง ๆ น่าจะมีมูลค่าเกือบ 5 หมื่นล้านบาท เงินเหล่านี้จะออกไปยังประเทศจีนแทบจะ 100% บริษัทไทยหรือคนไทย ไม่ได้รับผลประโยชน์ เทคโนโลยี หรือประสบการณ์ในการทำงานเลย ไม่สร้างงาน ไม่กระตุ้นเศรษฐกิจให้ไทย นอกจากกองทัพเรือที่ได้รับการสอนให้ใช้งานเรือดำน้ำได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ว่าซื้อเรือดำน้ำจากที่ใดก็ต้องได้ ต่างจากโครงการที่คล้ายกันของปากีสถาน ซึ่งจัดหาเรือดำน้ำรุ่นคล้ายไทย แต่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือดำน้ำ มีบริษัทและรัฐวิสาหกิจและกองทัพเรือปากีสถานเข้าร่วมดำเนินการต่อเรือดำน้ำด้วย รวมถึงจะมีเรือดำน้ำบางส่วนที่จะถูกต่อในประเทศปากีสถาน

จึงทำให้เราเห็นว่า การดำเนินโครงการจัดหาเรือดำน้ำครั้งนี้ กองทัพเรือคิดเพียงการได้เรือดำน้ำ แต่ไม่ได้คิดถึงการพัฒนาประเทศในด้านอื่น ซึ่งต่างจากโครงการอื่นของกองทัพเรือ เช่น การต่อเรือ OPV ต่างจากโครงการอื่นของเหล่าทัพอื่น เช่น การจัดหาเครื่องบินฝึกแบบ T-6 ของ #กองทัพอากาศ หรือการจัดหาเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120 มม. แบบติดตั้งบนรถของ #กองทัพบก ที่ทั้งสองโครงการมีการผลิตหรือประกอบในประเทศ หรือแม้แต่โครงการของกระทรวงอื่นที่ประเทศได้รับประโยชน์ในหลายด้าน

ทั้งนี้ ยังไม่สายที่กองทัพเรือจะเปลี่ยนการเจรจาให้ประเทศได้ประโยชน์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยังมีเวลาอีกหลายเดือนก่อนที่จะเสนองบประมาณในการจัดหาเรือดำน้ำลำที่ 2 และ 3 ซึ่งน่าจะมีเสียงคัดค้านเช่นเดิม แต่ถ้ากองทัพเรือสามารถเจรจาให้บริษัทหรือคนไทยได้รับประโยชน์ ได้รับงาน ได้เทคโนโลยีในการจัดหาในครั้งนี้ เชื่อว่าเสียงคัดค้านก็จะน้อยลง เหมือนดังเช่นโครงการอื่น เพราะมิเช่นนั้น กองทัพเรือก็จะต้องเผชิญกับเสียงคัดค้านแบบนี้เรื่อยไป เพราะในโครงการขนาดใหญ่เช่นนี้ การยกแต่เหตุผลด้านความมั่นคง แต่ละเลยการพัฒนาประเทศด้านอื่น ๆ นั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วครับ

One thought on “กองทัพเรือประกาศงานจ้างสร้าง #โรงซ่อมเรือดำน้ำ หลังจากล่มมา 3 ครั้ง

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.