#TMB2020 – #FCAS เครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 โครงการพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป

FCAS หรือ Future Combat Air System เป็นโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 หนึ่งในสองโครงการของยุโรป ซึ่งมีผู้ร่วมโครงการคือฝรั่งเศส เยอรมัน และสเปน เพื่อทดแทน #Eurofighter Typhoon, #Rafale, และ F/A-18E/F ที่ประจำการในกองทัพต่าง ๆ ส่วนอีกโครงการหนึ่งคือโครงการ Tempest ซึ่งมีสหราชอาณาจักรและสวีเดนร่วมโครงการเพื่อพัฒนาเครื่องบินทดแทน Eurofighter Typhoon และ #Gripen

คุณ Bruno Fichefeux รองประธานและหัวหน้าฝ่าย Future Combat Air System ที่บริษัท #Airbus Defense and Space เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการพัฒนา FCAS ซึ่งยังอยู่ในขั้นต้น แต่โครงการนี้จะเป็นโครงการพัฒนายุทโธปกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป

โดยโครงการเพิ่งทำการต้อนรับสเปนเข้ามาร่วมโครงการแล้ว ตอนนี้กำลังส่งมอบสถาปัตยกรรม 5 แบบที่ดีที่สุดเพื่อให้ประเทศในโครงการสามประเทศคือ สเปน เยอรมัน และฝรั่งเศส พิจารณาว่าจะเลือกแบบใดเป็นสถาปัตยกรรมหลักในการพัฒนา

ทั้งนี้ การพัฒนาไม่ใช่แต่ Airbus อย่างเดียว แต่ยังมีบริษัทต่าง ๆ ของแต่ละประเทศร่วมมือกันและแบ่งงานกันว่าใครจะพัฒนาเทคโนโลยีด้านใด ซึ่งมีการลงทุนในการวิจัยเบื้องต้นแล้ว 300 ล้านยูโรป และแบ่งงานกันทำอย่างเท่าเทียมระหว่างบริษัทในกลุ่มผู้พัฒนาทั้งสามประเทศ เพื่อทำให้ยุโรปสามารถพึ่งพาตนเองด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศได้ แม้ในช่วงโควิด-19 ก็ยังเห็นประเทศในยุโรปยังมุ่งมั่นที่จะรักษาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศด้วยการยังคงงบประมาณในการจัดหาและพัฒนาอาวุธที่ผลิตในยุโรปเช่น Typhoon หรือ NH90 เป็นต้น

สำหรับเครื่องบินต้นแบบหรือ FCAS Demo และ Remote Carrier ซึ่งเป็นอากาศยานไร้นักบินที่จะทำงานคู่กับเครื่องบินขับไล่น่าจะพร้อมทำการบินเที่ยวแรกได้ในปี 2026 และจะแสดงภาพของการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องบินขับไล่และโดรนในลักษณะ Man-Unmanned Teaming ที่เป็นหัวใจในการออกแบบในอนาคต

การพัฒนา FCAS นั้นมากกว่าเครื่องบินรบธรรมดา เนื่องจากมีการพัฒนาระบบและแนวคิดใหม่ ๆ ที่เป็นครั้งแรกของโลกใส่เข้ามายังโครงการจำนวนมาก เช่น มีการพัฒนาโมเดลจริยธรรม (Ethical Model) ด้านการใช้ AI ว่าจะใช้เทคโนโลยีด้านนี้ยังไงให้มีคุณธรรม โดยร่วมกับกระทรวงกลาโหมและต่างประเทศของเยอรมัน และมี Working Group รวมถึงการให้วิศวกร Airbus เสนอไอเดียว่าจะใช้ AI ให้มีคุณธรรมอย่างไร เพื่อเขียนโปรแกรมและสร้างโมเดลสำหรับให้ AI เรียนรู้ เพื่อที่เวลาปฏิบัติหน้าที่จริง AI จะได้ไม่ตัดสินใจโจมตีเป้าหมายที่ไม่เหมาะสมเช่น เป้าหมายที่ยอมแพ้แล้ว เป้าหมายพลเรือน หรือเป้าหมายที่ไม่เป็นภัยคุกคาม เป็นต้น

Airbus วางแผนว่า FCAS น่าจะมีขีดความสามารถเต็มที่พร้อมเข้าประจำการในราวปี 2040 โดยการพัฒนานั้นจะเน้นให้เทคโนโลยีย่อยในแต่ละด้านนั้นอยู่ (Technology Maturing) ให้มากที่สุดก่อนที่จะนำเข้าไปพัฒนากับระบบหลักเพื่อลดความล่าช้าและการใช้งบประมาณเพิ่ม


TAF ถามคุณ Bruno Fichefeux ว่าตอนนี้ยุโรปมีโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่สองโครงการขนานกันอยู่ และการมีเครื่องบินสองแบบแข่งขันกันเองก็จะทำให้จำนวนผลิตน้อย ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเสียโอกาสในการสร้างงานและรวมขีดความสามารถ เหมือนในปัจจุบันที่ยุโรปมีทั้ง Typhoon, Rafale และ Gripen ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่ทั้ง FCAS และ Tempest จะรวมโครงการกันเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันเองซึ่งไม่จำเป็น

เขาตอบว่าขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะตัดสินใจอย่างไร แต่สำหรับภาคอุตสาหกรรมนั้นเรารอไม่ได้จึงต้องทำงานกันไปก่อน ซึ่งในอนาคตอาจมีการร่วมมือกันก็ได้ แต่สิ่งที่จะทำกันแน่อนก็คือการคุยกับทีมพัฒนา Tempest หรือชาติ NATO ว่าจะทำให้เครื่องบินของแต่ละคนทำงานร่วมกันได้อย่างไร เพื่อรักษาขีดความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน


Trade Media Briefing คือกิจกรรมที่ Airbus เชิญสื่อมวลชนทั่วโลกเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวสรุปความเคลื่อนไหวและข้อมูลสำคัญของ Airbus เป็นประจำทุกปี แต่ในปีนี้เนื่องจากติดปัญหา COVID-19 จึงเปลี่ยนมาเป็นการจัดงาน Online และ TAF ได้รับเชิญให้ร่วมการแถลงข่าวด้วย ติดตามบทความ คลิป และข้อมูลการวิเคราะห์ของเราเกี่ยวกับ Eurofighter Typhoon, A400M, C295, เฮลิคอปเตอร์ตระกูล Airbus และความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับอวกาศได้ตลอดช่วงสองสามวันนี้ครับ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.