จากกรณีของสองบทความก่อนหน้าที่ที่มีข้อมูลว่า กองทัพเรืออาจจะแอบลงนามสัญญาจัดหาเรือดำน้ำลำที่สองและสามไปแล้ว ด้วยการใช้เทคนิคงบประมาณนั้น TAF กลับไปตรวจสอบจากแหล่งข่าวของกองทัพเรือ แหล่งข่าวได้ปฏิเสธข้อมูลดังกล่าว โดยระบุว่ากองทัพเรือยังไมได้ดำเนินการลงนามเรือดำน้ำลำที่สองและสาม
“จดหมายดังกล่าวเป็นเพียงจดหมายที่เป็นการติดต่อประสานรายละเอียดเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งข้อเท็จจริงคือ กองทัพเรือยังไม่ได้ดำเนินการเซ็นสัญญาจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่สองและสามจากทางจีนได้ ในเมื่อยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จึงไม่สามารถลงนามก่อนได้”
แหล่งข่าวระบุว่า โครงการนี้เป็นการจัดหาระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือ G2G การดำเนินการใด ๆ จำเป็นต้องให้คณะรัฐมนตรีรับทราบและอนุมัติให้ กองทัพเรือเป็นผู้ลงนามแทน ก่อนจึงจะดำเนินการได้
“ยืนยันได้ว่ากองทัพเรือยังไม่ได้ลงนามในสัญญาจัดหาเรือดำน้ำลำที่สองและสาม โดยยังไม่มีการผูกพันตามกฎหมาย โดยต้องได้รับการอนุมัติงบประมาณตาม พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี ก่อนที่จะมีการจัดหาต่อไป” แหล่งข่าวกล่าว
นอกจากนั้น แหล่งข่าวยังชี้แจงถึงข้อสังเกตที่ว่า ทำไมในครั้งแรกกองทัพเรือแถลงว่าการจัดหาเรือดำน้ำ S26T เป็นการจัดหาแบบซื้อสองแถมหนึ่ง แต่ในการชี้แจงงบประมาณกับคณะกรรมาธิการงบประมาณนั้นกลายเป็นการจัดหาทีละลำนั้น
“ข้อความดังกล่าวนั้นเป็นเพียงการเปรียบเทียบราคาในการจัดหาแบบ G2G ที่มีเรื่องการช่วยเหลือทางทหารกับต่างประเทศทำให้มีราคาถูกกว่าการจัดหาโดยตรงกับผู้ประกอบการเอกชน ซึ่งราคาที่จัดหาแบบ G2G จำนวน 3 ลำ หากซื้อกับผู้ประกอบการเอกชนจะซื้อได้เพียง 2 ลำ เมื่อเปรียบเทียบราคาแล้วเสมือนว่าซื้อในราคา 2 ลำ แต่ได้ 3 ลำ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณสูง ในตอนแรกผู้ขายต้องการให้กองทัพเรือจัดหาพร้อมกัน 3 ลำ ในวงเงินประมาณ 35,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นวงเงินงบประมาณที่สูง เพื่อไม่ให้เป็นภาระด้านงบประมาณกับ กองทัพเรือและประเทศ มากจนเกินไป กองทัพเรือ จึงได้เจรจาขอขยายงวดการจ่ายเงิน ซึ่งจำเป็นต้องทยอยจัดหาเป็นระยะ โดยจัดหาระยะที่ 1 จำนวน 1 ลำ และระยะที่ 2 จำนวน 2 ลำ ทั้งนี้ งบประมาณโดยรวมนั้นยังคงอยู่ที่ 35,000 ล้านบาท ไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด” แหล่งข่าวสรุป
สื่อไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบข่าวที่ตนเองไม่ได้นำเสนอ
ต่อเป็นข่าวที่ตนเองนำเสนอบางเรื่องก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบ
แน่นอนไม่ว่ามันจะจริงหรือไม่จริง
แต่ผู้คนเลือกที่จะเชื่อเฉพาะสิ่งที่สื่อบอกให้พวกเขาเชื่อ
และ ‘ใคร’ เป็นคนที่บอกสิ่งที่อยากให้ผู้คนเชื่อผ่านสื่อ?
บางครั้งภัยคุกคามของกองทัพเรือก็มักจะมาในรูปแบบของสื่อ
เรื่องมันก็ง่ายๆแค่นี้จริงๆ
ถูกใจถูกใจ