ดราม่าเกี่ยวกับวัคซีน #Pfizer ที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอเมริกายังเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องจำนวนวัคซีนที่บางที่บอกว่าได้น้อยกว่าจำนวนที่แจ้ง และการที่บุคลากรการแพทย์ด่านหน้าบางรายที่เข้าเกณฑ์ต้องได้ฉีดแต่ไม่มีรายชื่อฉีด

ล่าสุดเป็นกรณีของบุคลากรของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช สังกัด #กองทัพอากาศ โพสว่าตนเองได้รับ Sinovac 2 เข็ม ซึ่งเข้าเกณฑ์จะต้องได้รับ Pfizer เป็นเข็มกระตุ้น 1 เข็ม แต่ไม่มีชื่อได้ฉีด โดยบอกว่าไม่ใช่เรื่องเข้าใจผิด และท้าให้เปิดชื่อคนที่ได้ฉีด Pfizer และให้วงมาเลยว่าใครคือด่านหน้า
ส่วนโฆษกกองทัพอากาศปฏิเสธ โดยแจ้งว่าเจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศ ยืนยันว่าไม่มีการสวมสิทธิ์ หรือ แย่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 ของบุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช แต่อย่างใด เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ขอยืนยันว่าบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจะได้ฉีดทุกคนตามสิทธิ์ พร้อมเตรียมขอรับการสนับสนุนวัคซีนเพิ่มเติมในสัปดาห์หน้าอีก 400 โดส ให้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ที่มีรายชื่อตกหล่นในขั้นตอนของการลงทะเบียน ทำให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน ซึ่งขณะนี้ได้แก้ไขเพื่อขอวัคซีนเพิ่มเติมแล้ว
ซึ่งนั่นก็เท่ากับยอมรับว่า รายชื่อไม่ครบจริง ๆ
จริง ๆ แล้วน่าแปลกใจที่กองทัพอากาศนับจำนวนและสถานะกำลังพลไม่ถูกเลยหรือ ตรงนี้อยากให้ช่วยตรวจสอบดูอีกสักครั้งว่ามีความผิดพลาดตรงไหน
บุคลากรที่ควรได้รับ Pfizer ไม่ใช่หมอหรือพยาบาลอย่างเดียว แต่ทั้งนักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพ เภสัชกร ไปจนถึงผู้ช่วยพยาบาล เวรแปล พนักงานทำความสะอาด หรือพนักงานรักษาความปลอดภัย พวกเขาเหล่านี้คือกำลังรบซึ่งเราสูญเสียไม่ได้ในสงครามกับไวรัสรอบนี้
ทั้งนี้ ศบค. มีนโยบายให้โรงพยาบาลเปิดรายชื่อและหน้าที่ของบุคลากรการแพทย์ที่ฉีด Pfizer ให้ประชาชนช่วยกันตรวจสอบอยู่แล้วเพื่อความโปร่งใส ดังนั้นโรงพยาบาลควรเปิดเผยรายชื่อว่าใครที่มีสิทธิ์ฉีดบ้าง
ซึ่งถ้าโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และจริง ๆ แล้วก็คือโรงพยาบาลทั่วประเทศปฏิบัติตามนโยบายนี้ให้ได้ ก็เชื่อว่าดราม่าจะหายไปเยอะทีเดียวครับ
เราขอเรียกร้องให้บุคลากรด่านหน้า ที่มีสิทธิ์และเข้าเกณฑ์สมควรได้รับวัคซีนทุกคนครับ
ในวันนี้ จากกรณีที่บุคลากรการแพทย์ด่านหน้าโรงพยาบาลภูมิพลออกมาเรียกร้องเนื่องจากรายชื่อตกหล่นไม่ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 3 และมีข่าวว่ามี VVIP แอบเข้ารับการฉีดไฟเซอร์ที่โรงพยาบาลภูมิพล แต่เกิดอาการแพ้และแอบไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลอื่น ซึ่งแพทย์ที่รักษานั้นบังเอิญว่าเป็นแพทย์ที่ทำง่านที่โรงพยาบาลภูมิพลเช่นกัน จึงทำให้เกิดเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมากในสื่อสังคมออนไลน์

วันนี้เจ้ากรมแพทย์ทหารอากาศและผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูมิพลอดุลเดชได้แถลงข่าวเกี่ยวกับกรณีนี้ โดยขออภัยบุคลากรการแพทย์ และชี้แจงว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นจริง เนื่องจากเร่งรีบดำเนินการ และเกิดความผิดพลาดในการรวมรายชื่อจาก Google Form ที่ให้บุคลากรการแพทย์ด่านหน้าลงทะเบียนฉีดไฟเซอร์ และไฟล์ Excel ที่เกิดจากการรวบรวมรายชื่อของ HR ซึ่งทำให้มีรายชื่อมากถึง 2,800 รายชื่อ โดยมีบางส่วนมีชื่อซ้ำกัน ผู้บริหารของโรงพยาบาลทราบเรื่องและสั่งตั้งกรรมการพบทวนรายชื่อใหม่ในวันที่ 10 สิงหาคที่ผ่านมา และทะยอยประกาศรายชื่อเป็น 3 ล็อตในวันที่ 11 12 และ 15 สิงหาคม และถ้ามีบุคลากรทางการแพทย์ต้องการฉีดเพิ่มเติม ก็จะแจ้งรายชื่อไปยังกรมควบคุมโรคต่อไป
ส่วนรายชื่อที่หลุดออกมานั้นไม่ทราบว่าหลุดออกมาได้อย่างไร แต่ยืนยันว่าไม่มีการนำไปฉีดให้ VIP ถ้ามีคนทำไปแบบนั้นก็คงโง่มาก และยืนยันว่าไม่มีผู้ใหญ่ในกองทัพอากาศโทรมาขอฉีดไฟเซอร์ นอกจากนั้นยังยืนยันว่าจะไม่มีการคาดโทษบุคลากรที่ออกมาเรียกร้อง และได้รายงานผู้บัญชาการทหารอากาศให้ทราบเป็นระยะ ซึ่งผู้บัญชาการทหารอากาศไม่ได้สั่งการอะไรเพิ่มเติมนอกจากให้ไปดูแลและสื่อสารให้เรียบร้อย
บทความนี้ในเพจของเรา