อภิปรายไม่ไว้วางใจ: ส.ส.พิจารณ์ ก้าวไกล ประเด็นการซ่อมรถของกองทัพบกและเครื่องบินฝึก T-50 ของกองทัพอากาศ

TAF สรุปการอภิปรายไม่ไว้วางใจบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ โดยเฉพาะการจัดหายุทโธปกรณ์ที่น่าสนใจของ ส.ส.คนต่าง ๆ และการชี้แจงของผู้เกี่ยวข้อง โดยในตอนนี้เป็นการอภิปรายของ พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ – Phicharn Chaowapatanawong จาก พรรคก้าวไกล – Move Forward Party ครับ


กองทัพบก เรื่องการซ่อมรถ M35 และ UNIMOG

  • มีการเปลี่ยนแปลงงบประมาณการจัดหาเครื่องบินใช้งานทั่วไป Gulfstream G500 มูลค่า 1,350 ล้านบาท หรือ #เครื่องบินVIP เป็นเครื่องบินลำเลียง C-295W มูลค่า 1,250 ล้านบาทนั้นดูแล้วก็เหมาะสม แต่มีข้อสงสัยว่าเมื่อเปลี่ยนโครงการและเปลี่ยนแปลงงบประมาณแล้ว ส่วนต่าง 100 ล้านบาท หายไปไหน
  • โครงการจัดซื้อรถยนต์บรรทุกขนาด 2.5 ตัน 169 คัน มูลค่า 921 ล้านบาท พอเปลี่ยนผู้บัญชาการทหารบกเป็นท่านปัจจุบัน ก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงการอย่างรวดเร็วเป็นโครงการซ่อมบำรุงรถยนต์บรรทุก M35 2.5 ตันและรถ UNIMOG 1.25 ตัน
  • การซ่อมรถ M35 ซึ่งมีอายุใช้งานหลายสิบปีนั้นเป็นการซ่อมแบบเหลือแต่โครง คืออัพเกรดจาก M35A2 เป็น M35A2I จำนวน 259 คัน มูลค่า 518 ล้านบาท โดยศูนย์ซ่อมสร้างยุทธยานยนต์ของกองทัพ ส่วน UNIMOG จ้างเอกชนทำ 201 คัน มูลค่า 403 ล้านบาท โดยรวมเป็นการเปลี่ยนเครื่องยนต์ ย้ายพวงมาลัยจากซ้ายมาขวา ติดตั้งพวงมาลัยพาวเวอร์ ติดเครื่องปรับอากาศ ฯลฯ
  • เมื่อเปรียบเทียบการซ่อมรถ M35 259 คันแล้วพบว่า การซื้อใหม่จะใช้งบประมาณ 4.7 – 5.45 ล้านบาทต่อคัน กินน้ำมัน 5.5 กม./ลิตร แต่ไม่สนับสนุนการจ้างงานในประเทศ ถ้าจ้างเอกชนซ่อมจะเสียค่าซ่อมราว 2.5 ล้านบาทต่อคัน ไม่ทราบอัตราการกินน้ำมัน แต่ถือว่าได้สนับสนุนการจ้างงานในประเทศ แต่สุดท้ายกองทัพเลือกที่จะซ่อมเอง เสียเงิน 2 ล้านบาทต่อคัน ไม่ทราบอัตราการกินน้ำมัน และไม่สนับสนุนการจ้างงานในประเทศ
  • ปัญหาสำคัญคือการซ่อมเองนั้น มีการจัดซื้อเครื่องยนต์ Commin B6T5.9 กองทัพตั้งราคาไว้ 7 แสนบาทต่อเครื่อง แต่เมื่อตรวจสอบราคากับผู้ผลิตจริง ๆ พบว่าราคาขายแค่ 3 แสนบาทต่อเครื่อง ทำให้มีส่วนต่างคันละ 4 แสน รวม 100 ล้านบาท
  • ดังนั้นการจะซื้อใหม่หรือจ้างเอกชนซ่อมนั้น อาจจะถกเถียงหรือเลือกตัวเลือกไหนก็ได้ แต่ไม่ควรจะซ่อมเอง
  • ตอนเปลี่ยนแปลงโครงการ กองทัพบกให้เหตุผลว่าต้องเปลี่ยนแปลงเพราะรถรุ่น KM250 ของ Kia นั้นจะเลิกผลิต และติดปัญหาโควิดทำให้ต้องจ้างเอกชนซ่อม และเปลี่ยนมาเป็นซ่อมเอง แต่เมื่อตรวจสอบกับผู้ช่วยทูตทหารเกาหลีใต้ประจำประเทศไทยแล้วพบว่าไม่เป็นความจริง เกาหลีใต้ไม่มีแผนปลดประจำการหรือยกเลิกการผลิต และได้รับการชี้แจงว่ากองทัพบกเคยไปดูงาน Seoul ADEX แล้วจึงต้องการทำ G2G เพื่อซื้อ แต่ต่อมาอ้างเหตุผลดังกล่าวเพื่อขอเปลี่ยนโครงการ ซึ่งผู้ช่วยทูตทหารทำหน้งสือแย้งไปยังกระทรวงกลาโหมและสำนักงบประมาณแล้ว แต่ไมได้รับการตอบกลับ และยืนยันว่ายังมีการผลิตและประจำการรถ KM250 อย่างต่อเนื่อง ทำให้เหตุผลที่กองทัพบกไม่เป็นความจริง
  • สำหรับรถ UNIMOG ที่มีค่าซ่อม 2 ล้านนั้น ถ้าเทียบกับการจัดหารถจาก Tata เพียงคันละ 2.2 ล้านเท่านั้น ซึ่งเป็นการจัดหาใหม่ ซึ่งขัดกับนโยบายของกองทัพบกที่กำหนดว่าราคาซ่อมต้องไม่เกินราคา 65% ของราคาซื้อใหม่ ถ้าเกินให้พิจารณาปลดระวางและจัดหาใหม่
  • นอกจากนั้นยังมีประเด็นเรื่องการเขียน TOR ว่าอาจจะมีการล็อคสเปคผู้เข้าประมูลหรือไม่ เพราะกำหนดว่าผู้ที่เข้าประมูลได้ต้องเป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่ ไม่ใช่ตัวแทนซ่อม
  • ทำให้โครงการนี้ผิด พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลัง ผิดระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์ และทำให้ประเทศชาติเสื่อมเสียชื่อเสีย

กองทัพอากาศ เรื่องส่วนต่างราคาจัดหา T-50TH

  • การจัดหาเครื่องบินฝึก T-50TH ที่แบ่งเป็น 4 ระยะนั้น พบว่าระยะที่ 2 และ 4 ซึ่งมีการซื้อเครื่องบิน 8 และ 4 ลำ เพิ่มเติมจากระยะที่ 1 อีก 4 ลำ แต่มีราคาต่อลำเพิ่มขึ้น 14% และ 8% คือเพิ่มขึ้นจาก 25.88 ล้านเหรียญสหรัฐต่อลำเป็น 29.54 ล้านเหรียญสหรัฐต่อลำในระยะที่ 2 และ 31.81 ล้านเหรียญสหรัฐต่อลำในระยะที่ 4 รวมแพงขึ้น 1.3 พันล้านบาท หรือแพงขึ้น 23% ซึ่งทุกลำออปชั่นเหมือนกันหมด
  • เมื่อไปดูรายการชิ้นส่วนและอะไหล่ต่าง ๆ ของการจัดหานั้น จะพบว่าราคาของรายการเดียวกัน รุ่นเดียวกัน สเปคเดียวกัน แต่ราคาแพงขึ้นมากกว่า 30% เช่น
  1. เครื่องยนต์ F404-GE-102 ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 5.73 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 6.61 ล้านเหรียญสหรัฐ
  2. EDTU ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 4.7 แสนเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 6.3 แสนเหรียญสหรัฐ
  3. Fuel Metering Unit ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 7.2 แสนเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 9.7 แสนเหรียญสหรัฐ
  4. Smart Multifunction Display ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 7.4 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 9.9 หมื่นเหรียญสหรัฐ
  5. Integrated Mission and Display Computer ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 3.2 แสนเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 4.3 แสนเหรียญสหรัฐ
  6. Transponder และ IFF ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 6.2 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 8.3 หมื่นเหรียญสหรัฐ
  7. Auxiliary Powoer Unit ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 5.6 แสนเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 7.5 แสนเหรียญสหรัฐ
  8. Radome Assy ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 5.6 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 7.5 หมื่นเหรียญสหรัฐ
  9. Wheel Assy และ MLG ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 2.5 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 6.4 หมื่นเหรียญสหรัฐ
  10. VOR/ILS Receiver ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 6.1 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 8.2 หมื่นเหรียญสหรัฐ
  11. Embedded GPS/INS ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 1.7 แสนเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 2.4 แสนเหรียญสหรัฐ
  12. Main Generator ปี 2558 จัดหาเครื่องละ 3.1 แสนเหรียญสหรัฐ แต่ปี 64 จัดหาเครื่องละ 4.1 แสนเหรียญสหรัฐ
  • ซึ่ง 6 ปี แพงขึ้นพอ ๆ กัน 34% แทบทุกรายการ เป็นการแพงขึ้นเท่ากันหมด น่าจะเป็นการจัดซื้อที่มีส่วนต่างและผลประโยชน์

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.