DTI ทำอะไรตอนนี้ พร้อมรายละเอียดการร่วมทุนกับชัยเสรีและ ม.มหานคร (เก็บตกสัมมนา Defense and Security และ TAF)

วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา Defense and Security 2022 และ thaiarmedforce.com ได้ร่วมกันจัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ “A Glimpse of Thailand’s Defence Industry in 21st Century” ซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศมาร่วมเสวนา โดยต่อไปนี้คือสรุปเนื้อหาจากการสัมมนาซึ่งเป็นการแนะนำภารกิจของ DTI การวิเคราะห์สถานการณ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย โครงการวิจัยของ DTI และการร่วมทุนกับภาคเอกชนในหลายโครงการ โดยเฉพาะการร่วมทุนในโครงการยานเกราะกับชัยเสรีและการร่วมทุนในโครงการหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

อย่างที่เราทราบกันดีก็คือประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจจากโควิด-19 ซึ่ง thaiarmedforce.com ประเมินว่างบประมาณกลาโหมจะไม่กลับมาสู่ในระดับเดิมก่อนโควิดจนกว่าจะถึงปี 2570 อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมการบินเป็น S-Curve ที่รัฐบาลต้องการสนับสนุน ซึ่งมีสิทธิพิเศษด้านการส่งเสริมการลงทุนและภาษีหลายอย่าง การจัดหาอาวุธจากอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยหรือการเปิดโอกาสให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับกองทัพไทยก็จะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการทำให้กองทัพสามารถจัดหาอาวุธได้โดยประเทศได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจตอบแทนด้วย

สำหรับ DTI นั้นมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายในปี 2019 เพื่อให้สามารถผลิตและขายได้ โดย DTI ก็จะอยู่ภายใต้กำกับของกระทรวงกลาโหม ซึ่งจะมีคณะกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่ง DTI มีวัตถุประสงค์หลายประการ หนึ่งในนั้นคือการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และสามารถจัดตั้งองค์กรหรือนิติบุคคลหรือร่วมลงทุนกับภาคเอกชนหรือเป็นพันธมิตรด้วยกันได้

ในภาพรวมของประเทศไทยนั้น การพัฒนาขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศในปัจจุบันก็ยังมุ่งไปที่การซ่อมบำรุงและการฝึก การอัพเกรด การสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และการจัดหาอาวุธใหม่ แต่งบประมาณกลาโหมก็ลดลง 5.24% ในปี 2022 ซึ่งทำให้หลายโครงการจัดหาต้องเลื่อนออกไป แต่ก็สร้างโอกาสใหม่ที่ทำให้กองทัพสามารถให้ความสนใจกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยได้ และมีความท้าทายในการทำความเข้าใจกับสาธารณชนเพื่อลดแรงต่อต้านการจัดหายุทโธปกรณ์ในภาวะวิกฤตนี้

โดยสำหรับ DTI ก็มีภารกิจในการวิจัยและพัฒนาอาวุธซึ่งมุ่งไปที่ 5 เทคโนโลยีคือ Unmanned, ยานรบ, Simulation, ICT, และจรวด โดยไม่ได้ทำตั้งแต่ศูนย์แต่ใช้วิธีการร่วมมือกับภาคการศึกษาและเอกชน และมุ่งไปที่การผลิตในเชิงพานิชย์

DTI จะมองหาความร่วมมือเพื่อสร้างเครือข่าย ซึ่งมีกิจกรรมทั้งการวิจัยและพัฒนาและการสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งตอนนี้มีหลายหน่วยงานที่ทำความร่วมมือกับ DTI แล้ว

ในการวิจัยและพัฒนาจะทำผ่าน MoU และ MoA ซึ่งจะแบ่งปันทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการดำเนินการก่อนที่จะเกิดการจัดตั้งนิติบุคคลร่วมกันเพื่อร่วมลงทุนกันในการผลิตและขาย ซึ่งมีหลักเกณฑ์การพิจารณาในการร่วมทุนคือเพื่อดำเนินธุรกิจและกิจกรรมการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ DTI วิจัยและพัฒนาและผ่านการรับรองมาตรฐานแล้ว หรือผลิตภัณฑ์ที่เอกชนผลิตอยู่แล้ว หรือการสนับสนุนอื่น ๆ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย S-Curve 11

โดยมีตัวอย่างของโครงการที่มีอยู่แล้วเช่น การผลิตและขายคือ ยานเกราะ 4×4, อาวุธปืน, อากาศยานไร้คนขับ, เรือ OPV, และ ยานเกราะ 8×8 รวมถึงการให้บริการด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ คือซ่อมปรับปรุงอาวุธปืน การซ่อมบำรุงหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด และการฝึกอบรมนักบิน UAV

มีกรณีศึกษาคือการร่วมลงทุนระหว่าง DTI และบริษัท ชัยเสรี จำกัด เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการขายยานเกราะของบริษัทชัยเสรีที่ DTI จะสนับสนุนในด้านจัดการกับข้อตกลงระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลในการขายยานเกราะกับต่างประเทศ (ยานเกราะ First Win ซึ่งกำลังเสนอให้กับรัฐบาลฟิลิปปินส์) ตามความต้องการของประเทศลูกค้าที่ต้องการดำเนินการจัดหาผ่านหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งทั้งสองหน่วยงานก็มีกิจกรรมการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน รวมถึงการศึกษาตลาด ซึ่งในปัจจุบันทั้งสองหน่วยงานจัดตั้งบริษัท Thai Defense Industry เพื่อดำเนินการผลิตและขายยานเกราะ

อีกตัวอย่างหนึ่งคือการซ่อมบำรุงยานไร้คนขับ หลังจาก DTI ทำการวิจัยหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดแล้ว DTI ก็พบว่าหน่วยผู้ใช้มักจะพบกับปัญหาด้านการซ่อมบำรุงหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด DTI จึงร่วมมือกับบริษัท Technology Research and Development จำกัดของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครเพื่อทำการซ่อมบำรุงและจัดการการส่งกำลังบำรุงของยานไร้คนขับ ยานใต้น้ำ หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด ทั้งที่วิจัยโดย DTI และที่หน่วยผู้ใช้ทำการจัดหา รวมถึงการซ่อมบำรุงและการปรับปรุงหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดที่มีใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าคือหน่วยงานเก็บกู้วัตถุระเบิดของไทย

ท่านที่สนใจสามารถฟังสัมมนาฉบับเต็มได้ที่

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.