พม่าถล่มชนกลุ่มน้อย ไทยควรทำอะไรบ้าง?

สถานการณ์การสู้รบในเมียนมาร์ค่อนข้างดุเดือดเป็นอย่างยิ่ง โดยวันนี้นอกจากจะได้ยินเสียงเครื่องบินรบของเมียนมาร์ปฏิบัติภารกิจแล้ว ยังปรากฎลูกระเบิด RPG ตกลงเข้ามายังฝั่งไทย ทำให้บ้านเรือนได้รับความเสียหายอีกด้วย ในส่วนทางการไทยได้ปรากฎภาพการเสริมกำลังที่แนวชายแดนบางส่วน แต่ทั้งนี้ยังไม่ปรากฎการล้ำแดนของกองกำลังทั้งฝ่ายเมียนมาร์และฝ่ายชนกลุ่มน้อยเข้ามายังฝั่งไทย

มีคำถามว่า ไทยควรจะทำอะไรในสถานการณ์นี้ TAF จึงขอตอบคำถามและวิเคราะห์ให้ฟังครับ


  1. ต้องเข้าใจก่อนว่า การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมาร์กับชนกลุ่มน้อยนั้น แม้ฟังดูเจ็บปวด แต่มันถือเป็นเรื่องปกติที่มักจะเกิดขึ้นในฤดูแล้งหรือฤดูหนาว ซึ่งไม่มีฝน และสภาพอากาศปลอดโปร่ง กองทัพเมียนมาร์จึงมักจะเลือกช่วงเวลานี้ทำการรบกับชนกลุ่มน้อย เหมือนเป็นเหตุการณ์ประจำปี ซึ่งเกิดขึ้นมาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว แต่ในบางช่วงที่ผ่านมา อาจจะมีข้อตกลงหยุดยิงระหว่างรัฐบาลเมียนมาร์และชนกลุ่มน้อย ก็จะมีการสู้รบเกิดขึ้นน้อยหรือว่างเว้นไป

ดังนั้นเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ต้องบอกว่า สิ่งที่เราเห็นอยู่ในวันนี้ เป็นเหตุการณ์แทบจะปกติของเมียนมาร์

  1. ประเทศไทยมีหน้าที่ตามหลักการระหว่างประเทศที่จะต้องดูแลประชาชนที่อพยพลี้ภัยเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อเกิดเหตุการณ์สู้รบ ประชาชนและชนกลุ่มน้อยก็จะอพยพเข้ามายังฝั่งไทยเป็นประจำเพื่อรอให้เหตุการณ์สงบก่อนจะกลับเข้าไป และทางการไทยก็ทราบเรื่องนี้ดี จึงมีการจัดเจ้าหน้าที่ดูแลผู้อพยพหนีภัยสงครามเข้ามาเป็นประจำอยู่แล้ว

แม้ว่านี่จะเป็นภาระของไทยทั้งด้านงบประมาณ กำลังคน แต่ก็ถือเป็นหน้าที่ที่ปฏิเสธไมได้ตามหลักมนุษยชน

ตำรวจตระเวนชายแดนกับรถเกราะ V-150 วางกำลังในพื้นที่อำเภอแม่สอด
  1. ในกรณีที่มีกระสุนตกเข้ามา หรือมีการบินล้ำแดน ทางการไทยสามารถเลือกทางเลือกในการตอบโต้ได้หลากหลาย ซึ่งสามารถพิจารณาได้ตามความหนักเบาของสถานการณ์เช่น การประท้วงหรือขอความร่วมมือผ่านกลไกคณะกรรมการชายแดนไทย-เมียนมาร์ การประท้วงหรือหารือกับทูตเมียนมาร์ประจำประเทศไทย หรือถ้าพิจารณาใช้กำลังก็อาจจะใช้การยิงเตือนหรือยิงตอบโต้กลับไปในปริมาณที่เหมาะสม

ในส่วนของการบินนั้น จริง ๆ แล้วพื้นที่ปฏิบัติการของเครื่องบินรบของกองทัพเมียนมาร์ในปัจจุบันนั้น แม้ว่าจะยังอยู่ในเขตแดนของเมียนมาร์ แต่ก็ถือว่าอยู่ในเขตในหรือ Midnight Zone ซึ่งนับจากชายแดนไทยออกไป 50 ไมล์ทะเล อากาศยานที่ไม่ปรากฎฝ่ายต้องมีการดำเนินการสัดกั้นอย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้ ถ้าระบุฝ่ายได้ เช่นในกรณีนี้คือทราบว่าเป็นเครื่องบินรบของเมียนมาร์ และพิจารณาแล้วว่าเส้นทางการบินไม่ได้เข้าน่านฟ้าไทย ก็อาจจะพิจารณาตามความเหมาะสม ทั้งแค่ติดตามเป้าหมาย วิทยุแจ้งเตือน หรือส่งอากาศยานของไทยขึ้นบินประกบตามแนวชายแดนในเขตไทยเพื่อแสดงกำลังก็ทำได้เช่นกัน

ตำรวจตระเวนชายแดนกับรถเกราะ V-150 วางกำลังในพื้นที่อำเภอแม่สอด

  1. แต่สิ่งที่ไทยทำไม่ได้ก็คือการให้ความช่วยเหลือใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วยเหลือรัฐบาลเมียนมาร์หรือชนกลุ่มน้อย เนื่องจากทั้งหนดนี้ยังถือว่าเป็นกิจการภายในของเมียนมาร์ ไทยไม่สามารถดำเนินการโดยพลการได้เพราะจะเป็นการละเมิดอธิปไตยของเมียนมาร์

ยกเว้นแต่ว่า มีกลไกระหว่างประเทศอื่นเช่น กลไกของประชาคมอาเซียนซึ่งใช้ในพูดคุยหารือ แต่ในปัจจุบันประชาคมอาเซียนไมได้เชิญรัฐบาลเมียนมาร์เข้าร่วมหารือซึ่งเป็นผลมาจากการรัฐประหารของกองทัพเมียนมาร์

อีกกลไกหนึ่งก็คือกลไกของสหประชาชาติ ซึ่งถ้าสหประชาชาติตัดสินในที่จะแทรกแทรงหรือปฏิบัติการ Peace building ซึ่งต้องใช้กำลังทหาร ไทยก็อาจพิจารณาส่งกำลังเข้าร่วมกับสหประชาชาติหรือให้ใช้สถานที่และฐานทัพในประเทศเป็นที่ตั้งและที่ส่งกำลังบำรุงของกองกำลังสหประชาชาติที่จะเข้ามาสร้างสันติภาพได้

แต่อย่างที่กล่าวไปคือ แม้จะดูแล้วเหตุการณ์น่าตกใจและรุนแรง แต่ต้องบอกว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแทบทุกปี และที่ผ่านไม่ ยังไม่เคยมีสัญญาณใด ๆ จากสหประชาชาติว่าจะออกมติใดในเรื่องการสู้รบกับชนกลุ่มน้อยที่นำไปสู่การจัดตั้งภารกิจ Peace building หรือ Peace keeping แต่อย่างใด และ TAF มองว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะไปถึงจุดนั้น

ตำรวจตระเวนชายแดนกับรถเกราะ V-150 วางกำลังในพื้นที่อำเภอแม่สอด
  1. ถ้ารัฐบาลไทยอยากจะแสดงบทบาทในเหตุการณ์นี้ อาจจะทำได้ทั้งการแถลงการณ์เรียกร้อง หรือนำเรื่องเข้าหารือกับกลไกระหว่างประเทศต่าง ๆ อย่างที่กล่าวไป แต่ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาตามสถานการณ์และปัจจัยเฉพาะตัวต่าง ๆ โดยเฉพาะไทยที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ติดเมียนมาร์และจะได้รับผลกระทบโดยตรงไม่ว่าจะเกิดสถานการณ์ใด ซึ่งก็ต้องดูว่ารัฐบาลไทยจะมีนโยบายด้านนี้อย่างไร แต่ทั้งหมดจะไม่นำไปสู่การส่งกำลังทหารหรือการสนับสนุนทางทหารใด ๆ อย่างแน่นอน ตามที่ได้กล่าวไปในข้อ 4.
  2. จากเหตุผลทั้งหมด TAF คาดว่าคงมีเฉพาะการเสริมกำลังตามแนวชายแดนเพื่อรักษาความมั่นคงและรองรับผู้อพยพเท่านั้น โดยในพื้นที่แม่สอดอยู่ในความรับผิดชอบของกองกำลังนเรศวรของกองทัพบก รวมถึงอาสารักษาดินแดนของกระทรวงมหาดไทย โดยมีกำลังทหารพรานและตำรวจตระเวนชายแดนที่จะเป็นกำลังด่านหน้าสุด การปฏิบัติการทางทหารใด ๆ ต่อกองกำลังทั้งกองทัพเมียนมาร์และชนกลุ่มน้อยจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนครับ

ในภาพคือกำลังตำรวจตระเวนชายแดนกับรถเกราะ V-150 ในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ภาพจาก PR ประชาสัมพันธ์ตาก

โพสนี้ในเพจของเรา

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.