ข้อมูลอัพเดตล่าสุดของ F-35 ทั่วโลก

Lockheed Martin ส่ง Infographic มาให้ TAF ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดของโครงการ F-35 ทั่วโลกในเดือนมกราคม 2565 นี้ครับ


โดยรวมแล้วปัจจุบัน Lockheed Martin ส่งมอบ F-35 ทั้งสามรุ่นไปแล้วมากกว่า 750 ลำ และฝูงบิน F-35 ทั่วโลกมีชั่วโมงบินรวมกัน 274,699 เที่ยวบินด้วยจำนวนมากกว่า 470,000 ชั่วโมงบิน โดยมีนักบินที่เข้ารับการฝึกมากกว่า 1,585 คน และช่างอากาศยานมากกว่า 11,545 คน มีความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจในเบื้องต้นหรือ Initial Operational Capability ใน 12 กองทัพใน 9 ประเทศ และสามารถประกาศ ความพร้อมในการปฏิบัติภารกิจจริงแล้วใน 6 กองทัพ 5 ชาติคือสหรัฐทั้งกองทัพอากาศและนาวิกโยธิน สหราชอาณาจักร อิสราเอล อิตาลี และนอร์เวย์

สิ่งที่น่าสนใจคือการซ่อมบำรุง ซึ่งสหรัฐเรียกว่า Sustainment โดยเมื่อพิจารณาแค่ F-35A พบว่ามีชั่วโมงบินเฉลี่ยการพบความเสียหายหรือ Mean Flight Hour Between Failure สูงกว่าที่คาดไว้ คือ 9.8 ชั่วโมง เทียบกับที่คาดไว้เพียง 6 ชั่วโมง และต้องการชั่วโมงแรงงานในการซ่อมบำรุงน้อยลงกว่าที่คาดไว้ คือต้องการเพียง 5.3 ชั่วโมง เทียบกับที่คาดไว้ที่ 9 ชั่วโมง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่อชั่วโมงลดลง 45% นับจากปี 2558 โดยในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 33,000 เหรียญต่อชั่วโมง

ประเด็นค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ เราจะพูดถึงอีกครั้งในบทความหน้าครับ

นอกจากนั้นยังมีรายชื่อฐานทัพและศูนย์ซ่อมบำรุงประจำภูมิภาคเพิ่มขึ้นทั่วโลกตามจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งประเด็นนี้เราจะกล่าวถึงในบทความถัดไปเช่นกัน

โดยรวมแล้ว แม้ว่าสำหรับกระทรวงกลาโหมสหรัฐนั้น F-35 จะยังอยู่ในสถานะ Low-rate Initial Production ซึ่งถือเป็นสถานะที่บอกว่า F-35 อยู่ในระหว่างการทดสอบ ตัวเครื่องยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากยังมีข้อผิดพลาดที่ยังต้องแก้กว่า 600 จุด แต่จากตัวเลขการผลิตที่ราว 150 ลำต่อปี หรือผลิตได้ 1 ลำในทุก 2.5 วัน ค่อนข้างชัดเจนว่าอัตราการผลิตของ Lockheed Martin มาถึงจุดสูงสุดและมีความเสถียรแล้ว ซึ่งจำนวนการผลิตแม้จะมาก แต่ถือว่ารวมยอดสั่งซื้อในอนาคตที่ได้รับแล้วและคาดว่าจะทำให้สามารถคงสายการผลิต F-35 ไปได้อีกมากกว่าสิบปีเลยทีเดียว ซึ่งถ้าการลดค่าใช้จ่ายทั้งค่าจัดซื้อเครื่องบิน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการยังทำได้ต่อเนื่อง F-35 ก็อาจจะเป็นเครื่องบินที่เข้าใกล้สถิติเครื่องบินขับไล่สมัยใหม่ที่มียอดการผลิตสูงสุดของ F-16 ที่ 4,600 ลำก็เป็นได้ แม้ว่าสุดท้ายไม่น่าจะทำลายสถิติการผลิตของ F-16 ก็ตามครับ


รอติดตามบทความเกี่ยวกับ F-35 ของเราได้ต่อเนื่องครับ จริง ๆ เราก็อยากหให้ข้อมูลพวกนี้ เป็นทาง #กองทัพอากาศ มาพูดเอง แต่ตอนนี้กองทัพอากาศเงียบไปแล้ว ซึ่งน่าเสียดาย เพราะถ้ากองทัพอากาศจะจัดซื้อภายในปี 2566 นี้จริง ๆ ช่วงเวลาไม่กี่เดือนต่อจากนี้คือช่วงเวลาสำคัญที่สุดที่กองทัพอากาศจะต้องผลักดันโครงการให้สำเร็จ

TAF เลยขออาสามาเล่าให้ฟังแทนครับ เพราะเรามีเรื่องจะเล่าให้ฟังอีกมากเกี่ยวกับเครื่องบินลำนี้ เพราะนี่คือสิ่งที่คนไทยต้องทราบ ทั้งจุดเด่น จุดด้อย ข้อดี หรือข้อเสียของ F-35 ถ้ากองทัพอากาศไทยสามารถจัดหาเครื่องบินขับไล่ที่ดีที่สุดในโลกแบบหนึ่งเข้าประจำการได้จริง ๆ ครับ

บทความเก่าเกี่ยวกับ F-35

“TAF Talk #67 – ทอ.ไทยซื้อ F-35 ไม่ไหวไปอีก 10 ปี เพราะอะไร”
https://www.facebook.com/watch/?v=255594869595322

“ผบ.ทอ. แถลงนโยบาย ตั้งคณะทำงาน 14 คณะ เปรยอยากได้ F-35 แต่ไม่ใช่เร็ว ๆ นี้”

“TAF Talk #110 – F-35 ถูกกว่า Gripen? แต่เรื่องจริงมีมากกว่านั้น”

“ผบ.ทอ. ประกาศซื้อ F-35 อีกครั้ง พร้อม MUM-T เผยเสนอในปีงบ 66 นี้เลย”

“F-35 ราคาแค่ 80 ล้านเหรียญต่อลำ ถูกกว่าเครื่องบินรุ่นเก่าอย่าง F-16/Gripen จริงหรือไม่ ราคาที่แท้จริงคือเท่าไหร่กันแน่ ไปหาคำตอบกัน”

“วิเคราะห์กองทัพอากาศ ซื้อ F-35 ภายในปี 2566 เป็นไปได้แค่ไหน ต้องใช้เงินเท่าไหร่ โครงการจะออกมาอย่างไร”

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.