เก้าอี้ดนตรีกองทัพเรือ กับเรือรบชุดละลำ

ส่วนใหญ่แล้วกองทัพเรือมีความต้องการเรือแต่ละชุดอย่างน้อย 2 ลำ เพื่อให้มีเรือที่เหมือนกันอย่างน้อยสองลำ การฝึก อุปกรณ์ การซ่อมบำรุง จะได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ยกเว้นเรือบางแบบที่มีลำเดียวก็พอ แบบเรือหลวงจักรีนฤเบศร เป็นต้น

แต่กว่าสิบปีที่ผ่านมา น่าจะมีปัญหาอะไรสักอย่างกับการบริหารโครงการและวางยุทธศาสตร์การจัดหาอาวุธของกองทัพเรือ เพราะเรือแทบทุกลำ กลายเป็น One-ship Class หรือเรือชุดเดียวที่มีลำเดียวแทบทั้งสิ้น เช่น

เรือ LPD ที่กองทัพเรือมีความต้องการสองลำ ลำแรกซื้อมาแล้วคือเรือหลวงอ่างทองเป็นเรือชั้น Endurance ของสิงคโปร์ แต่ก็จบตรงนั้นและเว้นยาว มาซื้ออีกทีคือเรือหลวงช้าง หรือ Type-071E ของจีน ทุกอย่างต่างกันหมด ใช้แทนกันไม่ได้

เรือฟริเกตุสมรรถนะสูงปราบเรือดำน้ำกองทัพเรือก็มีความต้องการสองลำ ทดแทนเรือสองลำที่ปลดไป ได้ลำแรกมาแล้วคือเรือหลวงภูมิพลอดุลเดช ซึ่งเป็นเรือ DW3000F ของเกาหลีใต้ แต่ยังไม่ทันจัดหาลำที่สอง กองทัพเรือกลับเปลี่ยนไปจัดหาเรือดำน้ำ S26T จากจีนแทน และลงนามได้แล้วจำนวนหนึ่งลำ

S26T ทำท่าจะดี เพราะมีการเสนอโครงการต่อเนื่องคือจัดหาลำที่สองและสามแล้ว แต่ก็โชคร้ายโครงการก็ถูกเลื่อนมาเรื่อยด้วยกระแสคัดค้านรุนแรง จนสุดท้ายในปีนี้ โฆษกกองทัพเรือแถลงว่า จะเลื่อนการจัดหาไปอีกครั้ง ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะไปจัดหาอะไรแทน

ถ้าไปเริ่มเรือชุดใหม่ หรือเปลี่ยนไปซื้อเรือดำน้ำของประเทศอื่น ก็เผลอ ๆ จะกลายเป็นการจัดหาแค่ลำเดียว แล้วอาจจะเงียบยาวอีก ไปกันใหญ่


ปัญหาสำคัญคือความไม่ต่อเนื่องของการบริหาร ยุทธศาสตร์ที่ไม่ชัดเจน สามารถปรับเปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือได้เรื่อย ๆ ซึ่งถ้าเปลี่ยนได้แบบนี้มันก็คล้ายกับว่าไม่มียุทธศาสตร์นั่นแหละ

เรื่องนี้ไม่ใช่บอกว่างบน้อย หรือมีคนค้านเองไม่ใช่ความผิดกองทัพเรือ เพราะมันเป็นอย่างนี้ตั้งแต่ก่อนมีปํญหาโควิดแล้ว

แบบเรือหลวงช้าง ที่จู่ ๆ ก็โผล่มาเลย ไม่มีอะไรเหมือนเรือหลวงอ่างทองแม้แต่กระสุนปืน แต่ต้องไปทำงานคู่กัน หรือแบบเรือภูมิพลที่ควรจะมีลำที่สองต่อเนื่อง ก็เปลี่ยนไปดื้อ ๆ เพราะเปลี่ยนไปจัดหาเรือดำน้ำก่อน

กองทัพบกกับกองทัพอากาศ ความมึนก็มีอยู่บ้าง แต่อย่างน้อยมันก็จบไปเป็นโครงการ ๆ อย่างจัดหา VT-4 กับ VN-1 หรือ Stryker ของกองทัพบก ก็จะทำให้จบไปเป็นชุด ๆ ให้ครบอย่างน้อย 1 กองพัน ปีไหนเงินน้อยก็ซื้อน้อย ปีไหนเงินมากหน่อยก็ซื้อมากหน่อย แต่สุดท้ายจะมีรถครบตามอัตราการจัด สามารถทำงานได้ หรืออะไรถ้าแพง ก็อาศัยค่อย ๆ ซื้อแบบ Black Hawk หรือ Mi-17 แต่ก็ซื้อเรื่อย ๆ ไม่เปลี่ยนแบบ แค่เปลี่ยนรุ่นนิดหน่อย สุดท้ายได้เครื่องมาก็ยังไม่ต่างกันมากนัก อะไร ๆ ยังใช้กันได้ หรือ H225M หรือ T-50TH ของกองทัพอากาศ ที่ก็กัดฟันซื้อไปเลยจนครบทุกเฟส ให้จบโครงการก่อนแล้วค่อยเริ่มโครงการใหม่ แบบนี้ก็ได้เครื่องเหมือนกันทั้งฝูง ซ่อมง่าย ฝึกง่ายกว่า

โอเคล่ะ เราต้องให้ความเป็นธรรมกับกองทัพเรือนิดนึง เพราะเรือลำนึงมันแพงกว่ารถถังคันนึงหรือเครื่องบินลำนึงมากนัก จะแบบปีนี้ซื้อหัวเรือ ปีหน้าค่อยซื้อท้ายเรือ ปีต่อไปซื้อตัวเรือมันก็ไม่ได้

แต่มันก็ไม่ควรจะเปลี่ยนถึงขั้นแบบ ซื้อเรือหลวงภูมิพลมาแล้ว เดี๋ยวเบรกก่อน ไปซื้อเรือดำน้ำก่อนดีกว่า เพราะสองโครงการนี้งบพอ ๆ กัน และเกิดก่อนมีปัญหาโควิด ดังนั้นไม่ใช่มีเงินไม่มีเงินด้วยซ้ำ แต่ทำไมถึงเลือกสลับก็ไม่รู้


แล้วนอกจากเรือหลวงภูมิพล เรือดำน้ำ S26T เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงช้าง จนถึงเรือหลวงแหลมสิงห์ เหล่านี้เป็น One-ship Class ทั้งสิ้น คือมีความต้องการหลายลำ แต่ซื้อแยกทีละลำแล้วเปลี่ยนแบบตอนซื้อใหม่ และเผลอ ๆ เรือหลวงกระบี่กับเรือหลวงประจวบคีรีขันต์ แม้จะใช้แบบเรืออันเดียวกัน แต่มีการแก้แบบจนต่าง และอุปกรณ์ที่ติดก็ต่างกันหลายอัน

สุดท้าย กองทัพเรือจะมีเรือที่ไม่พร้อมสักอย่าง เพราะเรือลำเดียวมันทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แบบเรือดำน้ำ ถ้าขึ้นซ่อมในอู่แห้งก็จบ ไม่มีเรือสลับใช้อีก 6 เดือน

ย้ำว่าอย่าบอกว่าเพราะโดนตัดงบเพราะโควิดถึงเป็นแบบนี้ เพราะมันเป็นมานานแล้วจากที่ไล่ให้ฟัง

เราก็ไม่บังอาจไปสอนทหารเรือ เขาก็รู้เรื่องเรือรบดีที่สุดอยู่แล้ว ใครจะไปรู้ดีกว่า แต่ของแบบนี้ ใครเห็นก็พอรู้ว่า มันต้องมีอะไรผิดพลาดสักอย่างแน่ งบซ่อมบำรุงของกองทัพเรือถึงบานปลาย กระสุน จรวด อะไหล่ ใช้แทนกันไม่ได้เลย คอร์สเรียนของกำลงพลมีเป็นสิบคอร์ส เพราะอุปกรณ์มีเป็นสิบ ๆ ยี่ห้อที่ใช้ในหน้าที่เดียวกัน ทหารตำแหน่งไหนป่วยก็จบเลย เรียกลำข้าง ๆ มาแทนไม่ได้

ต้องมีใครสักคนจัดการเรื่องนี้แล้วครับ ไม่งั้นต่อไปจะมีแต่ต้องของบซ่อม เงินไม่พอไปซื้อใหม่ หรือไป ๆ มา ๆ แม้แต่ซ่อมยังไม่พอเลยครับ

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.