DTI กองทัพเรือ บ.สกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น วางกระดูกงูเรืออเนกประสงค์

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศหรือ DTI จัดพิธีวางกระดูกงูเรือต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเลขึ้น โดยร่วมมือหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ในนามของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย และบริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด

โครงการพัฒนาป้อมปืนอัตโนมัติของ #DTI #โชคนำชัย ม.#เกษตร และ #กองทัพบก

เพิ่งได้รับวรสาร DTech ของ #สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ DTI มา เจอบทความซึ่งน่าจะเชื่อมโยงกับข่าวประชาสัมพันธ์ของกองคลังแสง #กรมสรรพาวุธทหารบก ครับ ตามข่าวที่กองทัพบกประชาสัมพันธ์ เป็นการติดตั้งป้อมปืนอัตโนมัติบนยานเกราะล้อยางแบบ V-100 เพื่อนำไปทดสอบต่อไป โดยดูรูปร่างของป้อมปืนแล้วน่าจะเป็นป้อมปืน Protector RWS ของ #Kongsberg ประเทศนอเวย์ค่อนข้างแน่

กระบวนการการรับรองมาตรฐานอาวุธที่เกิดจากการวิจัย สำหรับอาวุธไทยที่อยากเข้าประจำการ

เรามักจะบ่นกันตลอดว่า กองทัพมักไม่สนับสนุนอาวุธที่เกิดจากการวิจัยหรือคนไทยผลิต ซึ่งมีส่วนจริงอยู่มากทีเดียวครับ เพียงแต่เราอาจจะมองข้ามไปว่า มันมีประเด็นบางอย่างที่ต้องพิจารณา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ กระบวนการ #การรับรองมาตรฐานทางทหาร และ #อาวุธไทย ชนิดนั้นผ่าน #มาตรฐานทางทหาร หรือยัง ประเทศไทยนั้น แม้ส่วนใหญ่กองทัพไทยจะใช้มาตรฐาน #NATO เป็นเสมือนมาตรฐานทางทหารหลักของชาติ (De Facto Standard) เนื่องจากอาวุธส่วนใหญ่นั้นใช้มาตรฐานนี้ แต่โดยเนื้อแท้แล้ว ประเทศไทยนั้น "ยังไม่มีมาตรฐานทางทหารเป็นของตนเอง" ซึ่งนั่นหมายถึงถ้าจะพัฒนาอาวุธสักชิ้น เราก็ยังไม่รู้ว่าจะไปอ้างอิงมาตรฐานไหน

TAF จับตางบกลาโหม 64

ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 กำลังเข้าสู่การพิจารณาของสภาครับ โดยปีนี้ตั้งงบประมาณเอาไว้ที่ 3.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 1 แสนล้านบาทเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเป็นงบประมาณขาดดุลจำนวน 6.23 แสนล้านบาท ซึ่งต้องทำการกู้ยืมเพิ่มเติม สำหรับกระทรวงกลาโหมนั้นได้รับงบประมาณ 223,463.6521 ล้านบาท ลดลง 8,281.6210 ล้านบาท หรือคิดเป็น -3.57% เมื่อเทียบกับปี 2563 เมื่อจำแนกเป็นหน่วยงานจะมีรายละเอียดดังนี้

#กองทัพเรือ ส่งมอบ #อากาศยานไร้นักบิน แบบนารายณ์จำนวน 44 ระบบ

นารายณ์เป็นอากาศยานไร้นักบินแบบสี่ใบพัดหรือ Quad Rotors ซึ่งสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ กองทัพเรือเป็นแกนหลักในการพยายามพัฒนามานานหลายปี โดยในบางช่วงของการพัฒนามีทั้งบริษัทเอกชนอย่าง กษมา เฮลิคอปเตอร์ และหน่วยงานราชการอื่นเช่น สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เข้ามาร่วมทำการพัฒนา โดยในปัจจุบันซึ่งเป็นรุ่นที่ 3 นั้น สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ พัฒนาให้มีความเร็วที่สูงขึ้นคือราว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ที่ระยะเวลาปฏิบัติการ 30 นาที ทำการบินได้ไกลราว 1.5-2 กิโลเมตร โดยติดตั้งกล้องทั้งแบบกลางวันและกลางคืน และออกแบบให้สามารถพับเก็บและสะพายหลังได้ รวมถึงมีคอมพิวเตอร์พกพาในกล่องที่บรรจุโปรแกรมควบคุมการบินซึ่งสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือพัฒนาขึ้นเอง สามารถวางแผนการบิน ควบคุมเส้นทางการบิน และดูภาพจากกล้องได้ ซึ่งรวม ๆ แล้วทั้งสามรุ่นของนารายณ์มียอดจัดหาเข้าประจำการราว 100 ระบบ

นิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ความฝันที่ยากจะเป็นจริง?

ช่วงนี้มีข่าวที่ #กระทรวงกลาโหม ออกมาให้ข่าวเองว่าได้ตัดสินใจเลือกที่ดินของกองทัพในอำเภอบ่อพลอยเป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยเล็งนักลงทุนเป้าหมายจากจีน สหรัฐอเมริกา และเช็ค เพื่อเข้ามาตั้งโรงงานผลิตและส่งออกอาวุธ รวมถึงอาจย้ายโรงงานอุตสาหกรรมของทหารต่าง ๆ มาตั้งที่นี่ด้วย ต่อไปนี้คือความเห็นของ TAF โดยมีพื้นฐานคือข้อมูลเท่าที่มีปรากฏตามสื่อต่าง ๆ ครับ การส่งเสริม #อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นสิ่งที่ดีและควรทำ และกระทรวงกลาโหมก็แสดงให้เห็นอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยก็ในเชิงความตั้งใจว่า มีความต้องการให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ปัญหาก็คือทำไมต้องออกมาในรูปของนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ?

ยานเกราะจีน ทร. จะเชียร์ถ้ามาแทนรถถัง แต่จะค้านถ้ามาแทน AAV

ตามเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างที่ปรากฎนั้น โครงการที่ #กองทัพเรือ ต้องการจัดหาคือ โครงการยานเกราะจู่โจมสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่ 1 จำนวน 3 คัน มูลค่า 405 ล้านบาท โดยจะดำเนินการจัดหาในเดือนนี้ ซึ่งมีแนวโน้มค่อนข้างสูงว่าจะเป็น #ยานเกราะ จากจีน โดยจีนทำตลาดรถ ZTD-05/ZBD-05 หรือ VN16/18 ซึ่งเป็นชื่อรุ่นส่งออกอยู่ในขณะนี้ เรายังไม่ทราบรายละเอียดของการจัดหาในครั้งนี้ว่าเป็นการจัดหาเพื่อทดแทนในอัตราของหน่วยใด แต่ TAF จะแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็นสองส่วน ซึ่งเราจะความเห็นต่างกันครับ

DTI ซื้อ UAV จากจีน 95 ล้านบาท

Defence Technology Institute หรือ #DTI ได้เผยแพร่ผู้ชนะการเสนอราคาจ้างสร้างระบบเครื่องช่วยฝึกเสมือนจริงสำหรับปฏิบัติภารกิจระบบ UAV โดยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 1 ระบบ ในหมวดอุปกรณ์ของอากาศยาน ผู้ได้รับคัดเลือกคือ Beihang UAS Technology โดยเสนอราคา 95.05 ล้านบาท