ทูตยูเครนขอบคุณไทยช่วยสนับสนุน ขอทั่วโลกช่วยด้านมนุษยธรรม เชื่อยูเครนจะชนะในท้ายที่สุด

สถานทูตยูเครนประจำประเทศไทยได้จัดแถลงข่าวชี้แจงสถานการณ์สงครามกับรัสเซียที่เกิดขึ้นในยูเครนให้กับคนไทยได้รับทราบ และจัดขึ้นสองวันหลังจากสถานทูตรัสเซียประจำประเทศไทยแถลงข่าวการปฏิบัติการทางทหารของรัสเซียในยูเครน

อุปทูตสหรัฐเผยปูตินรุกรานยูเครน ละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติ ชื่นชมไทยโหวตสนับสนุนยูเครนรักษาเอกราช พร้อมให้การสนับสนุนยูเครนทั้งการทหารและการทูต และเรียกร้องปูตินหยุดทำสงคราม

อุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายไมเคิล ฮีธ ตอบคำถามในอีเมล์ของ TAF เกี่ยวกับประเด็นสงครามยูเครน-รัสเซียว่า รัสเซียกำลังปบิดเบือนข้อมูลเพื่ออ้างเหตุโจมตี แต่แทนที่สงครามจะจบลงอย่างรวดเร็วด้วยชัยชนะอย่างที่ประธานาธิบดีปูตินคาดหวัง กลับต้องพบกับการต้านทานที่เข้มแข็งจากชาวยูเครน

กองทัพอากาศเข้าให้ข้อมูลกรรมาธิการทหารกรณี F-16 ตกที่ชัยภูมิ

วันนี้ คณะกรรมาธิการทหารสภาผู้แทนราษฎรได้เชิญกองทัพอากาศเข้าชี้แจงและให้ข้อมูลในกรณีเครื่องบินขับไล่ F-16 ของกองทัพอากาศประสบอุบัติเหตุตกในจังหวัดชัยภูมิ

R V Connex ร่วมงาน World Defense Show ที่ซาอุดิอาระเบีย รับโอกาสการฟื้นฟูความสัมพันธ์ของสองประเทศ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซาอุดิอาระเบียได้จัดงาน World Defense Show ที่จัดขึ้น ณ กรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นงานที่ซาอุดิอาระเบียต้องการใช้เป็นเครื่องมือในการเปิดตลาดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและผลักดันให้ซาอุดิอาระเบียประเทศที่มีอุตสาหกรรมป้องกันประเทฒเข้มแข็ง เพื่อเป้าหมายที่จะทำให้งบประมาณด้านการป้องกันประเทศ 50% จากงบประมาณ 1.5 ล้านล้านบาทตกอยู่กับบริษัทด้านการป้องกันประเทศของซาอุดิอาระเบียเอง

หลากมิติสหรัฐฯ มองไทย กับกรณีไทยสนใจ F-35: ความเห็นของอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต ไมเคิล ฮีธ และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา กรุงเทพ

ไม่ว่าจะเป็นเพราะยุทธศาสตร์ของประเทศไทยกำหนดไว้ เป็นความบังเอิญ หรือแค่นายหน้าค้าอาวุธเป็นผู้ผลักดันก็ตาม แต่ไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศของโลกที่ดำเนินนโยบายจัดหาอาวุธจากทั้งสหรัฐและจีน เป็นที่เดียวในโลกที่ยานเกราะ Stryker ของสหรัฐปฏิบัติการคู่กับยานเกราะ VN-1 ของจีน หรือเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวรที่ต่อในจีน แต่ติดตั้งจรวดของสหรัฐ หรือฐานบินของเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่ผลิตในสหรัฐได้รับการป้องกันภัยทางอากาศจากจรวด KS-1C ที่ผลิตในจีน แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาวุธของจีนจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในกองทัพไทย เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีในราคาที่ไม่แพง แต่โดยองค์ประกอบ หลักนิยม และแนวคิดในการปฏิบัติภารกิจนั้น กองทัพไทยยังคงอ้างอิงแนวคิดของกลุ่ม NATO หรือแนวคิดของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก

R V Connex บริษัทไทยหนึ่งเดียวใน Dubai Airshow กับการเปิดตัวต่อตลาดและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในระดับโลก

Dubai Airshow กำลังจัดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งถือเป็นแอร์โชว์ขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นอีกครั้งในยุคโควิด-19 ซึ่งทำให้ตลาดการบินและการทหารกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ภายในงานแอร์โชว์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกครั้งนี้ มีบริษัทของคนไทยหนึ่งเดียวที่ได้เข้าร่วมจัดแสดงในงานคือ R V Connex ซึ่งเข้าร่วมในส่วนของ Space Forum ที่เป็นพื้นที่ของบริษัทด้านอวกาศอื่น ๆ ทั่วโลก

ร่วมติดตามภารกิจพิทักษ์ประจิมของกองกำลังสุรสีห์ ก่อนการเตรียมเปิดประเทศ

ระยะเส้นเขตแดนที่อยู่ในดูแลของกำลังสุรสีห์มีระยะทางราว 846 กิโลเมตร หรือใกล้เคียงกับเส้นทางจากกรุงเทพไปยังเชียงใหม่ พาดผ่านพื้นที่ 3 จังหวัดคือ กาญจนบุรี ,ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ โดยภารกิจหลักของกองกำลังสุรสีห์ภายใต้กองพลทหารราบที่ 9 คือการพิทักษ์พื้นที่ชายแดนด้านตะวันตก แต่จากวิกฤติการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 กองกำลังสุรสีห์มีภารกิจเพิ่มเติมในการเฝ้าระวังการลักลอบผ่านแดนอย่างผิดกฎหมาย อันเป็นการร่วมประสานงานกับหน่วยงานทั้งของภาครัฐและพลเรือนตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อเตรียมรับสถานการณ์การเตรียมเปิดประเทศของรัฐบาล กองกำลังสุรสีห์จึงได้ทำการปรับแผนเพิ่มความเข้มข้นในการปฏิบัติภารกิจ ลดการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายเพื่อให้ผู้ผ่านแดนเข้าสู่ระบบการคัดกรองโรคอย่างถูกต้องให้มากที่สุด

TAF Special #41 – 60 ปีของการขาดหายไปของเรือดำน้ำแห่งราชนาวีไทย สู่การจัดตั้งกองเรือดำน้ำและการจัดหาเรือดำน้ำ Type-206A จากเยอรมัน

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 กองทัพเรือได้มีคำสั่งปลดประจำการเรือดำน้ำทั้ง 4 ลำที่ต่อจากญี่ปุ่นลง ตามหลังหมวดเรือดำน้ำที่ถูกยุบลงไปรวมกับหมวดเรือตรวจฝั่งที่ตั้งขึ้นใหม่ …. สยามเป็นประเทศที่สองหลังจากญี่ปุ่นในเอเชีย และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกนี้ที่มีเรือดำน้ำในประจำการ นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ จากวันที่อ่าวไทยเคยถูกประกาศจากข้าศึกของไทยให้เป็นเขตการปฏิบัติการของเรือดำน้ำซึ่งจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากคุณสมบัติของเรือดำน้ำที่ตรวจจับได้ยาก กองทัพเรือไทยว่างเว้นจากการมีเรือดำน้ำมาจนครบ 60 ปีในปีนี้ และความพยายามหลายครั้งของกองทัพเรือไทยในการกลับมาใช้งานเรือดำน้ำอีกครั้งในอดีตก็ล้มเหลวมาตลอด การมีเรือดำน้ำจึงกลายเป็นเหมือนคำสาปที่กองทัพเรือไทยไม่สามารถลบล้างมาได้ตลอด 60 ปี

TAF Editorial #1 – โครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงของกองทัพเรือไทย สนามแข่งขันของผู้ผลิตชั้นนำระดับโลก

หลังจากรอคอยมากว่าสิบปี เมื่อเดือนกันยายน 2555 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติงบประมาณให้กองทัพเรือจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงจำนวน 2 ลำ มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท หลังจากกองทัพเรือไม่สามารถผลักดันโครงการจัดหาเรือดำน้ำ Type-206A ได้สำเร็จ เรือฟริเกตจากโครงการนี้น่าจะเป็นเรือที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพเรือ และน่าจะเป็นเรือที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งของภูมิภาคแถบนี้ ถ้ากองทัพเรือสามารถใช้งบประมาณเต็มจำนวนที่ได้รับการอนุมัติไว้ และแน่นอนว่าโครงการนี้ดึงดูดความสนใจจากอู่ต่อเรือและผู้ผลิตระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางทะเลชั้นนำจากหลายประเทศ ซึ่งจะต้องแข่งขันกันเพื่อให้ได้สัญญามูลค่าราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐด้วยเวลาอันจำกัด TAF Editorial ฉบับแรกวันนี้ ขอเสนอการวิเคราะห์ถึงที่มาที่ไปของโครงการ ตัวเลือกที่อาจได้รับการพิจารณา รวมถึงความเป็นไปได้สำหรับผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นถ้าแบบเรือใดได้รับการคัดเลือก

ธ ทรงเป็นฉัตรชัยในยามศึก พระอัจฉริยภาพด้านการทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปร…