กองทัพอากาศ กับการยกเลิก P&D ทำให้โปร่งใส หรือก้าวถอยหลังกันแน่?

สำหรับกองทัพอากาศในปีงบประมาณที่กำลังจะผ่านไปนั้น ต้องบอกว่าเป็นปีที่เงียบเชียบ ทั้งในแง่ของโครงการจัดซื้อจัดหาที่ไม่ได้มีโครงการขนาดใหญ่มากนัก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการเดิม รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ก็ไม่ได้มีมากนอกจากการสนับสนุนการแก้ปัญหาโควิดเพราะว่ายังติดภาวะนั่นแหละ

อภิปรายไม่ไว้วางใจ: ส.ส. น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคเพื่อไทย เรื่องการยกเลิก Purchase and Development ของกองทัพอากาศ

TAF สรุปการอภิปรายไม่ไว้วางใจบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ โดยเฉพาะการจัดหายุทโธปกรณ์ที่น่าสนใจของ ส.ส.คนต่าง ๆ และการชี้แจงของผู้เกี่ยวข้อง โดยในตอนนี้เป็นการอภิปรายของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ จาก พรรคเพื่อไทย ครับ

อภิปรายไม่ไว้วางใจ: ส.ส.พิจารณ์ ก้าวไกล ประเด็นการซ่อมรถของกองทัพบกและเครื่องบินฝึก T-50 ของกองทัพอากาศ

TAF สรุปการอภิปรายไม่ไว้วางใจบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ โดยเฉพาะการจัดหายุทโธปกรณ์ที่น่าสนใจของ ส.ส.คนต่าง ๆ และการชี้แจงของผู้เกี่ยวข้อง โดยในตอนนี้เป็นการอภิปรายของ พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ - Phicharn Chaowapatanawong จาก พรรคก้าวไกล - Move Forward Party ครับ

หน่วยงานในกลาโหม ลงนามร่วมสั่งซื้อ-สั่งจ้างอาวุธที่กลาโหมผลิตเอง

เมื่อวานนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมกับ กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพต่าง ๆ ลงนามในบันทึกข้อตกลงการสั่งซื้อ-สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยเป็นกรอบความร่วมมือ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2564 - 2567

กองทัพเรือ-DTI หารือในการใช้งานจรวดหลายลำกล้อง PULS

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือหรือ สวพ.ทร. ไ…

รู้จัก กองทัพและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ เมียนมาร์ หนึ่งในชาติชั้นนำของอาเซียน นำหน้าไทย 10 ปี

ช่วงนี้ดูเหมือนทุกคนจะให้ความสนใจเมียนมาร์หรือ พม่า และ กองทัพเมียนมาร์ เป็นพิเศษ จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเมียนมาร์ TAF คิดว่าทุกท่านน่าจะได้ทราบหลาย ๆ แง่มุมของเมียนมาร์ไปแล้วผ่านสื่อต่าง ๆ วันนี้เราเลยจะขอมาเล่ามุมที่ยังไม่ค่อยมีใครเล่าก็คือ กองทัพเมียนมาร์และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ของเมียนมาร์

นายกฯ อนุมัติโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

วันนี้ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ครั้งที่ 1/2564 ซึ่งเห็นชอบหลักการผลิตและขายยุทโธปกรณ์ การร่วมทุนและการส่งเสริมการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อเริ่มต้นประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เป็นรูปธรรมในการส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนโดย #สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ นำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านยุทโธปกรณ์ รวมถึงการสร้างรายได้และพึ่งพาตนเองพร้อมทั้งลดงบประมาณจากรัฐในอนาคตได้ด้วย

TAF Talk #10 – ซื้อเรือดำน้ำอย่างไรให้เศรษฐกิจดีด้วย

คณะกรรมมาธิการงบผ่านความเห็นชอบให้กองทัพเรือซื้อเรือดำน้ำ S26T ลำที่ 2 และ 3 ด้วยคะแนนเสียง 5 - 4 แม้กองทัพเรือบอกว่าไม่มี MoU หรือข้อกำหนดที่กองทัพเรือต้องซื้อเรือดำน้ำลำที่ 2 และ 3 ปีนี้ แต่จำเป็นต้องซื้อ และต้องซื้อทั้งสองลำ ตัดออกไม่ได้ เพราะต้องการราคาโปรโมชั่น TAF ยังเห็นว่ากองทัพเรือไม่ควรซื้อเรือดำน้ำตอนนี้ เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อย่างมาก ดังนั้นการดึงซื้อปีนี้ไม่เป็นผลดีกับกองทัพเรือ เพราะกองทัพเรือจะถูกวิจารณ์อย่างหนักจากประชาชน ซึ่งก็เกิดขึ้นแล้ว แต่จริง ๆ กองทัพเรือมีทางออกที่ดีกว่าคือการซื้อเรือดำน้ำให้ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมาให้ประเทศบ้าง โดยยกตัวอย่างในกรณีของมาเลเซียที่ซื้อเรือดำน้ำ Scorpene ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและพัฒนาอุตสาหกรรมด้วย โดยโครงการที่พัฒนาอุตสาหกรรมของไทยในลักษณะนี้แท้จริงเป็นสิ่งที่กองทัพเรือก็เคยดำเนินการมาในอดีต แต่ขาดช่วงและไม่ได้ดำเนินการต่อในปัจจุบัน สามารถรับฟังได้ที่ TAF Talk #10 ในตอนนี้ครับ

บริษัทต่าง ๆ ในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึก/โจมตีแบบ T-6TH/A-6TH

โครงการจัดหาเครื่องบินฝึก/โจมตีแบบ T-6TH/A-6TH นี้มีข้อกำหนดสำคัญประการหนึ่งก็คือ กองทัพอากาศจะต้องได้สิทธิในการแก้ไขปรับปรุงระบบต่าง ๆ ของเครื่อง โดยเฉพาะซอฟแวร์ Operation Flight Program ที่เป็นซอฟแวร์ควบคุมเครื่อง เพื่อให้กองทัพอากาศสามารถติดตั้งระบบอื่น ๆ ที่ต้องการได้เอง รวมถึงจะต้องมีการผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนในประเทศไทย และทำการประกอบรวมขั้นสุดท้ายในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและอุตสากรรมของไทยมีโอกาสได้รับเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเพิ่มการจ้างงานคนไทยในตำแหน่งงานที่ต้องใช้ทักษะสูง รวมถึงยังเป็นการดึงงบประมาณบางส่วนให้ยังอยู่ในระบบเศรษฐกิจของไทยอีกด้วย ดังนั้น เราคาดว่าจะมีบริษัทต่าง ๆ เป็น Partner ในโครงการของกองทัพอากาศ ดังนี้

รู้จัก T-6 Texan II เครื่องบินฝึก/โจมตีแบบใหม่ของกองทัพอากาศไทย

T-6 Texan II กลายมาเป็นเครื่องบินฝึกแบบใหม่ของกองทัพอากาศในการจัดหาภายใต้งบประมาณ 5,195 ล้านบาท ซึ่งรวมไปถึงเครื่องบินโจมตีแบบใหม่ของกองทัพอากาศไทยด้วย การจัดหาในครั้งนี้จะทดแทนเครื่องบินฝึก PC-9M ที่กำลังจะหมดอายุลง และจะทดแทนเครื่องบินโจมตี L-39ZA/ART ที่ฝูงบิน 411 เชียงใหม่ โดยจะทดแทนฝูงละ 12 ลำ รวมอย่างน้อย 24 ลำ ซึ่งถือว่าลดจำนวนเครื่องต่อฝูงลง แต่ก็มาพร้อมกับโอกาสของภาคอุตสาหกรรมไทยในการมีส่วนร่วมผลิตและปรับปรุงเครื่องบินแบบนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่คนไทยสามารถมีส่วนร่วมได้มากขนาดนี้