เห็นมีหลายท่านบอกว่าเครื่องบินใบพัดเป็นเครื่องบินโบราณ เทคโนโลยีสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งต่างจากเครื่องบินไอพ่นที่เป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า โดยเฉพาะเมื่อมีกรณีการจัดหาเครื่องบินโจมตี AT-6 ความเข้าใจนี้ยิ่งถูกพูดถึงกันมากขึ้น และตามมาด้วยการบอกว่าเครื่องบินบินหลบจรวดไม่ได้บ้าง ใช้โจมตีไม่ได้บ้าง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดเป็นอย่างมาก วันนี้เราจะมาสอนหลักการพื้นฐานของเครื่องยนต์ใบพัดในสมัยนี้ และเครื่องยนต์ไอพ่นว่ามันแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงเรื่องการป้องกันตัวเองจากระบบป้องกันภัยทางอากาศ และการใช้เครื่องบินโจมตีในภารกิจสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดว่าเป็นอย่างไรครับ
ป้ายกำกับ: เครื่องบินโจมตี
แย้งบทความเรื่องเครื่องบินโจมตีของกองทัพอากาศในไทยรัฐ Plus ผิดพลาดในการวิเคราะห์ และสำคัญผิดในข้อเท็จจริง
TAF เขียนบทความนี้ขึ้นเพื่อแย้งบทความใน Thairath Plus - ไทยรัฐพลัส วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ชื่อบทความว่า "กองทัพอากาศไทยจัดหาเครื่องบินรบ แต่ไม่ได้ใช้รบจริงๆ"
R V Connex บริษัทไทยหนึ่งเดียวใน Dubai Airshow กับการเปิดตัวต่อตลาดและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในระดับโลก
Dubai Airshow กำลังจัดขึ้นอยู่ในขณะนี้ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งถือเป็นแอร์โชว์ขนาดใหญ่ที่จัดขึ้นอีกครั้งในยุคโควิด-19 ซึ่งทำให้ตลาดการบินและการทหารกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ภายในงานแอร์โชว์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกครั้งนี้ มีบริษัทของคนไทยหนึ่งเดียวที่ได้เข้าร่วมจัดแสดงในงานคือ R V Connex ซึ่งเข้าร่วมในส่วนของ Space Forum ที่เป็นพื้นที่ของบริษัทด้านอวกาศอื่น ๆ ทั่วโลก
กองทัพอากาศไทยลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินโจมตี AT-6 ถือเป็นลูกค้าต่างชาติรายแรกของเครื่องบินโจมตีแบบนี้
Textron Aviation ประกาศการลงนามสัญญามูลค่า 143 ล้านเหรียญสหรัฐหรือราว 4,713 ล้านบาทกับกองทัพอากาศไทยในการส่งมอบเครื่องบินโจมตี AT-6 ในงาน Dubai Airshow 2021 ที่กำลังจัดขึ้นอยู่ในขณะนี้
กองทัพสหรัฐฝึกสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดด้วยนักบินหญิง-เจ้าหน้าที่หญิงล้วนเป็นครั้งแรก
ในการฝึกของกองทัพอากาศสหรัฐที่ฐานทัพอากาศ Osan ในเกาหลีใต้ F-16 สองลำพร้อมกับ A-10 แปดลำบินขึ้นเพื่อทำภารกิจการฝึกการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด ซึ่งการฝึกนี้เป็นการฝึกที่เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ นักบินทั้งหมดในภารกิจนี้ล้วนเป็นนักบินหญิงทั้งสิ้น
นักบินสหรัฐฝึกนักบิน OV-10C ไทย และภารกิจทิ้งระเบิดโรงงานเฮโรอีนในพม่า – เรื่องจาก The Drive
The Drive เผยแพร่เรื่องราวของอดีตนักบิน F-4G และ OV-10A ที่ชื่อ Danno ซึ่งเคยมาฝึกให้กับนักบินของกองทัพอากาศไทย และภารกิจลับของกองทัพอากาศไทยในการทิ้งระเบิดโรงงานผลิตยาเสพติดในพม่า
กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินโจมตี AT-6 Wolverine จำนวน 8 ลำ
องทัพอากาศประกาศผู้ชนะการเสนอราคาในโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา จำนวน 8 เครื่อง โดยเป็นการจัดซื้อเครื่องบินโจมตีเบา พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ ระบบสนับสนุน การฝึกอบรม และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น โดยวิธีเฉพาะเจาจง ซึ่งเลือกแบบเครื่องบิน AT-6 Wolverine จากบริษัท Textron Aviation Defense LLC จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4,314 ล้านบาท
กองทัพอากาศไทย มีเครื่องบินรบกี่ลำ (ในปี 64-68)
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาในการสนทนาใน Clubhouse ของ TAF ที่ @thaiarmedforce นั้น มีสมาชิกในห้องถามว่า วันนี้ #กองทัพอากาศไทย เรามีเครื่องบินรบกี่ลำ เคยได้ยินมาว่ามีไม่กี่ลำ ดังนั้นวันนี้เราจะลองมาลองทบทวนกันดูว่า ณ เดือนเมษายน 2564 นี้ กองทัพอากาศมีเครื่องบินรบที่มีขีดความสามารถในการทำการรบ ไม่นับเครื่องบินลำเลียง เครื่องบิน VIP หรือเฮลิคอปเตอร์อยู่กี่ลำ ในฝูงใดบ้าง และมองไปในอนาคตอีก 4 ปีข้างหน้าคือปี 2568 #กองทัพอากาศ จะมี #เครื่องบินรบ กี่ลำ จะเพิ่มหรือลดลง ติดตามกันได้ครับ
ระบบอาวุธของ AT-6TH เครื่องบินโจมตีผู้มาแทน L-39ZA/ART
กองทัพอากาศเพิ่งดำเนินการปลดประจำการ L-39ZA/ART ไปเมื่อ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการปิดฉากการใช้งานนาน 27 ปีของ L-39ZA/ART ในบทบาททั้งการฝึกนักบินที่จะบินกับเครื่องบินขับไล่ (LIFT) หรือภารกิจโจมตีภาคพื้นดิน ซึ่งภารกิจฝึกนักบินที่จะบินกับเครื่องบินขับไล่นั้นมีเครื่องบินทดแทนแล้วคือ T-50TH จำนวน 14 ลำ ซึ่งในตอนแรกคาดว่ากองทัพอากาศจะทดแทน L-39ZA/ART ด้วย T-50TH เช่นกัน โดยต่อมามีกระแสข่าวว่ากองทัพอากาศจะยุบฝูง 411 เชียงใหม่ไปหลังปลดประจำการ L-39ZA/ART แต่สุดท้ายแนวทางออกมาเป็นการจัดหาเครื่องบินโจมตีควบคู่กับเครื่องบินฝึกขั้นปลายเพื่อทดแทน PC-9 ซึ่งสรุปออกมาได้เป็นเครื่องบินฝึกแบบ T-6TH ซึ่งทำให้เครื่องบินที่จะทดแทน L-39ZA/ART นั้นกลายเป็น AT-6TH แทนนั่นเอง จึงเสมือนย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ฝูงบิน 411 มีเครื่องบินโจมตีใบพัดประจำการคือ OV-10C เพียงแต่ AT-6TH มีประสิทธิภาพสูงกว่า OV-10C มากไม่ต่างจากเครื่องบินไอพ่นนัก
บริษัทต่าง ๆ ในโครงการจัดหาเครื่องบินฝึก/โจมตีแบบ T-6TH/A-6TH
โครงการจัดหาเครื่องบินฝึก/โจมตีแบบ T-6TH/A-6TH นี้มีข้อกำหนดสำคัญประการหนึ่งก็คือ กองทัพอากาศจะต้องได้สิทธิในการแก้ไขปรับปรุงระบบต่าง ๆ ของเครื่อง โดยเฉพาะซอฟแวร์ Operation Flight Program ที่เป็นซอฟแวร์ควบคุมเครื่อง เพื่อให้กองทัพอากาศสามารถติดตั้งระบบอื่น ๆ ที่ต้องการได้เอง รวมถึงจะต้องมีการผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนในประเทศไทย และทำการประกอบรวมขั้นสุดท้ายในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยและอุตสากรรมของไทยมีโอกาสได้รับเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเพิ่มการจ้างงานคนไทยในตำแหน่งงานที่ต้องใช้ทักษะสูง รวมถึงยังเป็นการดึงงบประมาณบางส่วนให้ยังอยู่ในระบบเศรษฐกิจของไทยอีกด้วย ดังนั้น เราคาดว่าจะมีบริษัทต่าง ๆ เป็น Partner ในโครงการของกองทัพอากาศ ดังนี้