หลังจากเพิ่งลงนามจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale ไป 6 ลำแรกจาก 42 ลำ ซึ่งจะมีมูลค่าสูงสุด 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ วันนี้สำนักงานเพื่อความร่วมมือด้านความมั่นคงของสหรัฐหรือ DSCA ก็ได้แจ้งต่อสภาคองเกรสในความเป็นไปได้ที่จะขายเครื่องบินขับไล่ F-15ID จำนวน 36 ลำพร้อมอุปกรณ์ต่าง ๆ และระบบสนับสนุนให้กับอินโดนีเซีย โดยมูลค่าสูงสุดที่เป็นไปได้ของสัญญาคือ 13.9 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเฉลี่ยลำละ 386 ล้านเหรียญสหรัฐ
ป้ายกำกับ: FMS
หลากมิติสหรัฐฯ มองไทย กับกรณีไทยสนใจ F-35: ความเห็นของอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต ไมเคิล ฮีธ และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา กรุงเทพ
ไม่ว่าจะเป็นเพราะยุทธศาสตร์ของประเทศไทยกำหนดไว้ เป็นความบังเอิญ หรือแค่นายหน้าค้าอาวุธเป็นผู้ผลักดันก็ตาม แต่ไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศของโลกที่ดำเนินนโยบายจัดหาอาวุธจากทั้งสหรัฐและจีน เป็นที่เดียวในโลกที่ยานเกราะ Stryker ของสหรัฐปฏิบัติการคู่กับยานเกราะ VN-1 ของจีน หรือเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวรที่ต่อในจีน แต่ติดตั้งจรวดของสหรัฐ หรือฐานบินของเครื่องบินขับไล่ F-16 ที่ผลิตในสหรัฐได้รับการป้องกันภัยทางอากาศจากจรวด KS-1C ที่ผลิตในจีน แม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาวุธของจีนจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมากในกองทัพไทย เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีในราคาที่ไม่แพง แต่โดยองค์ประกอบ หลักนิยม และแนวคิดในการปฏิบัติภารกิจนั้น กองทัพไทยยังคงอ้างอิงแนวคิดของกลุ่ม NATO หรือแนวคิดของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก