สามโครงการจัดหาของ กองทัพอากาศ ที่รื้อ P&D สรุปยังไง กล้าเซ็นกันหรือไม่?

ส่วนร่วม โดยเน้นที่ไปสามโครงการคือ โครงการพัฒนาและปรับปรุงระบบป้องกันทางอากาศ ระยะที่ 7 (N-SOC C2) งบประมาณ 945 ล้านบาท, โครงการพัฒนาป้องกันฐานที่ตั้งทางทหารของกองทัพอากาศ (Ground Based Air Defense: GBAD) งบประมาณ 940 ล้านบาท และโครงการจัดหาทดแทนวิทยุพื้นดิน-อากาศ งบประมาณ 910 ล้านบาท ซึ่งมีการการแก้ไข TOR ตัดบางข้อความออก หรือรื้อการจัดซื้อจัดจ้างบางส่วน รายละเอียดติดตามได้ที่ Link ท้ายบทความ

กองทัพอากาศอาจเลือกแบบจรวด SPYDER-SR และดราม่ายกเลิก P&D ในโครงการ GBAD

ก่อนวันสุดท้ายของปีงบประมาณที่ผ่านมา ผู้บัญชาการทหารอากาศคนก่อนคือพลอากาศเอกแอร์บูล สุทธิวรรณ ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนก่อนเกษียณอายุเกี่ยวกับโครงการพัฒนาการป้องกันฐานที่ตั้งทางทหารของกองทัพอากาศ หรือ GBAD เพื่อประจำการในกองบิน 4 ตาลี ว่ามีการจัดหาจรวดจากอิสราเอลเข้าประจำการแล้ว ซึ่งโครงการนี้เป็นการจัดหาอาวุธปล่อยพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้เข้าประจำการในกองทัพอากาศ มูลค่า 940 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในสามโครงการที่ถูกวิจารณ์จากหลายฝ่าย เนื่องจากมีการตัดหลักการ Purchase and Development ออกไป ซึ่งเมื่อพิจารณาจากข้อมูลเพียงเท่านี้ เราเชื่อว่าระบบจรวดนั้นจะเป็น SPYDER-SR ของอิสราเอล วันนี้้เราจะเล่าความเป็นมา ปัญหาของโครงการ และทำความรู้จัก SPYDER-SR ครับ

กองทัพอากาศ กับการยกเลิก P&D ทำให้โปร่งใส หรือก้าวถอยหลังกันแน่?

สำหรับกองทัพอากาศในปีงบประมาณที่กำลังจะผ่านไปนั้น ต้องบอกว่าเป็นปีที่เงียบเชียบ ทั้งในแง่ของโครงการจัดซื้อจัดหาที่ไม่ได้มีโครงการขนาดใหญ่มากนัก ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการเดิม รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ก็ไม่ได้มีมากนอกจากการสนับสนุนการแก้ปัญหาโควิดเพราะว่ายังติดภาวะนั่นแหละ

อภิปรายไม่ไว้วางใจ: ส.ส. น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคเพื่อไทย เรื่องการยกเลิก Purchase and Development ของกองทัพอากาศ

TAF สรุปการอภิปรายไม่ไว้วางใจบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ โดยเฉพาะการจัดหายุทโธปกรณ์ที่น่าสนใจของ ส.ส.คนต่าง ๆ และการชี้แจงของผู้เกี่ยวข้อง โดยในตอนนี้เป็นการอภิปรายของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ จาก พรรคเพื่อไทย ครับ