HMS Richmond ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรฝึกร่วมกับกองทัพเรือไทย สัญญาณแรกของนโยบาย Indo-Pacific Tilt ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร

วันนี้ เรือ HMS Richmond ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรทำการฝึก PASSEX ร่วมกับเรือหลวงกระบุรีและเฮลิคอปเตอร์ S-76B ของกองทัพเรือไทยในน่านน้ำอันดามัน ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปีนับตั้งแต่เรือ HMS Daring มาเยือนประเทศไทยเมื่อปี 2557

เรือ HMS Richmond เป็นส่วนหนึ่งของกองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหราชอาณาจักรที่นำโดยเรือ HMS Queen Elizabeth เรือที่ใหญ่และทรงพลังที่สุดที่เคยมีมาในกองทัพเรือสหราชอาณาจักรที่ออกปฏิบัติการเป็นครั้งแรกหลังจากเข้าประจำการ ด้วยเรือรบ 9 ลำ อากาศยาน 32 ลำ และกำลังพล 3,700 คน และรวมถึงเรือรบของสหรัฐอเมริกาและเนเธอแลนด์ นี่คือกองเรือและกำลังทางอากาศที่ทรงอำนาจที่สุดที่ออกวางกำลังนอกสหราชอาณาจักรในยุคนี้


การวางกำลังของกองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหราขอาณาจักรนี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Global Britain ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนนโยบายด้านการต่างประเทศ การป้องกันประเทศ และการพัฒนาแบบบูรณาการณ์ของนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน เพราะแม้ว่านี่จะเป็น “กองเรือที่ทรงอำนาจมากที่สุดแห่งยุคของสหราชอาณาจักร แต่จะทรงอำนาจยิ่งขึ้นอีกเมื่อร่วมมือกับพันธมิตร” ตามที่พันเอก โทนี่ สเติร์น ผู้ช่วยทูตทหารสหราชอาญาจักรประจำประเทศไทยกล่าว

FULL UK CARRIER STRIKE GROUP ASSEMBLED FOR FIRST TIME The full UK Carrier Strike Group assembled for the first time during Group Exercise 2020 on 4th October. Aircraft carrier HMS Queen Elizabeth leads a flotilla of destroyers and frigates from the UK, US and the Netherlands, together with two Royal Fleet Auxiliaries. It is the most powerful task force assembled by any European Navy in almost 20 years.

“สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มุ่งช่วยแก้ปัญหาและแบ่งเบาภาระของโลก มีบทบาทนำในความร่วมมือระหว่างประเทศด้านความมั่นคง การร่วมมือระหว่างประเทศ การแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความเสี่ยงด้านสุขภาพ อย่างไรก็ตาม การที่เราจะเปิดกว้างได้เราจะต้องมีความมั่นคง ในฐานะประเทศทางทะเลหรือ Maritime Nation ที่มุ่งเน้นการไหลเวียนอย่างเสรีด้านการค้า การลงทุน ข้อมูล นวัตกรรม และแนวคิด การวางกำลังของกองเรือบรรทุกเครื่องบินนี้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนตัวทางยุทธศาสตร์และการปฏิบัติการทั่วโลกของสหราชอาณาจักร ซึ่งได้รับประโยชน์จากขีดความสามารถชั้นนำระดับโลกด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของเรา กองเรือบรรทุกเครื่องบินนี้สามารถปฏิบัติการต่อต้านภัยคุกคามทั้งจากรัฐและไม่ใช่รัฐได้อย่างอิสระ ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติได้” พันเอก โทนี่ สเติร์น กล่าว

กองเรือนี้เดินทางออกจากสหราชอาณาจักรตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และจะเดินทางกว่า 26,000 ไมล์จนถึงกำหนดการกลับสหราชอาณาจักรในเดือนธันวาคม จะมีการพบปะกับ 40 ชาติ และปฏิบัติภารกิจมากกว่า 70 ครั้งในระหว่างการเดินทาง โดยในเดือนกรกฎาคมจนถึงตุลาคม กองเรือจะอยู่ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก แม้ว่าจุดหยุดพักหลักของกองเรือจะอยู่ที่เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และอินเดีย เรืออื่น ๆ จากกองเรือบรรทุกเครื่องบินจะพบปะและแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนในฐานะส่วนหนึ่งของนโยบายต่างประเทศของสหราชอาณาจักร โดยการฝึกร่วมระหว่างเรือ HMS Richmond กับเรือหลวงกระบุรีคือการพบปะและฝึกร่วมกันครั้งแรกระหว่างกองเรือและประเทศในอาเซียน ซึ่งจะช่วยประชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ลูกเรือของ HMS Richmond และเรือหลวงกระบุรีของกองทัพเรือไทย
HMS Richmond ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรและเรือหลวงกระบุรีของกองทัพเรือไทย

พันเอก โทนี่ สเติร์นกล่าวว่า การที่กองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหราชอาณาจักรมาเยือนภูมิภาคนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Indo-Pacific Tilt หรือนโยบายโน้มเข้าหาภูมิภาคอินโดแปซิฟิกของสหราชอาณาจักร

“สำหรับสหราชอาณาจักรแล้ว ภูมิภาคนี้สำคัญต่อเศรษฐกิจ ความมั่นคง และความมุ่งมั่นของเราในการสนับสนุนสังคมที่เปิดกว้าง มีชาวสหราชอาณาจักรอย่างน้อย 1.7 ล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ โดยกว่า 5 หมื่นคนอาศัยอยู่ในประเทศไทย และการค้าระหว่างกันยังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในอีกหลายทศวรรตข้างหน้า ภูมิภาคนี้จะเป็นเป้าหลอมสำหรับความท้าทายระดับโลกหลายอย่าง ตั้งแต่ภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ ไปจนถึงความมั่นคงทางทะเลและการแข่งขันกันด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งเชื่อมโยงกับกฎระเบียบและภาวะปกติต่าง ๆ ดังนั้น ในทศวรรตหน้า เราจะมีปฏิสัมพันธ์กับภูมิภาคอินโดแปซิฟิกให้มากขึ้น เพิ่มบทบาทและตัวตนของสหราชอาณาจักรในภูมิภาคนี้ให้มากกว่าทุกประเทศในยุโรป ซึ่งจะเห็นได้จากการที่สหราชอาณาจักรตัดสินใจสมัครเข้าร่วมเป็นพันธมิตรคู่เจรจาของอาเซียน (Asean Dialogue Partner) และจะเข้าร่วมในสนธิสัญญาในแปซิฟิกหลายฉบับ”

สำหรับประเทศไทย ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในมุมมองของ พันเอก โทนี่ สเติร์น นั้น ถือว่ามีรากฐานที่มั่นคงและใกล้ชิดระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศและความร่วมมือรอบด้านในหัวข้อต่าง ๆ เช่นสุขภาพ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ความมั่นคง และการป้องกันประเทศ

“เรามีความยินดีที่กองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหราชอาณาจักรเดินทางเข้ามาใกล้ประเทศไทย ในฐานะสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นของทั้งสองชาติเพื่อให้ภูมิภาคอินโดแปซิฟิกนั้นมีเสรีและเปิดกว้าง เพื่อประโยชน์ที่นำไปสู่ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาคและของโลกต่อไป”

One thought on “HMS Richmond ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรฝึกร่วมกับกองทัพเรือไทย สัญญาณแรกของนโยบาย Indo-Pacific Tilt ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.