สรุป การซื้ออาวุธ-รับมอบอาวุธ ในปีงบประมาณ 2563

ปี 2563 หรือ 2020 ที่แสนเลวร้ายกำลังจะผ่านพ้นไปแล้วครับ

ท่ามกลางวิกฤตในแบบที่มองไปทางไหนก็เจอวิกฤต สำหรับด้านการทหารเองก็หนีไม่พ้นวิกฤตนี้จากการที่การระบาดของโรค #โควิด19 สร้างบาดแผลทางเศรษฐกิจมหาศาลจนส่งผลให้เศรษฐกิจตกต่ำมากที่สุดตั้งแต่ยุคต้มยำกุ้ง และการหดตัวของเศรษฐกิจในระดับเกือบ 7% ทำให้ประเทศไทยถอยหลังกลับไปอย่างน้อย 5 ปี ในเดือนเมษายนรัฐบาลจึงออกกฎหมายโอนงบประมาณคืนเพื่อนำไปฟื้นฟูเศรษฐกิจ นั่นส่งผลให้โครงการจัดซื้อจัดหาหลายโครงการต้องถูกพับไป แต่ก็ยังมีหลายโครงการที่หลุดรอดการตัดงบนี้และสามารถดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งรายละเอียดของการตัดลดงบประมาณในโครงการต่าง ๆ สามารถดูได้ที่ https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=10158488133434612&id=377261239611

ไฮไลต์สำคัญของปีที่ผ่านมาคงหนีไม่พ้นกรณีการเสนอความต้องการจัดหา #เรือดำน้ำ S26T ลำที่สองและสามของกองทัพเรือที่รัฐบาลเสนอบรรจุเข้าไปในงบประมาณปี 2564 ส่งผลให้เกิดเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดหาอาวุธมูลค่าหลายหมื่นล้านในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและรัฐบาลต้องกู้เงินหลายแสนล้าน จนสุดท้ายรัฐบาลและกองทัพเรือก็ยอมถอยด้วยการถอนโครงการออกไป ซึ่งในประเด็นนี้ TAF แสดงความคิดเห็นและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหาเรือดำน้ำไว้หลายครั้ง ซึ่งสามารถเข้าไปหาข้อมูลได้ที่ https://thaiarmedforce.com/2020/12/30/thai-submarine-procurement-chronicle/

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา มาตรา 11 ของพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ได้กำหนดให้หน่วยงานรัฐเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างในช่องทางของกรมบัญชีกลางและหน่วยงานของรัฐ ทำให้กองทัพจำเป็นที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลการซื้ออาวุธให้ประชาชนรับรู้ ซึ่งแม้ว่าจะยังไม่ได้เปิดเผยทั้งหมด แต่ก็ถือว่ากฎหมายนี้กำหนดให้เปิดเผยมากกว่าแต่ก่อนมาก เพื่อความโปร่งใสและเป็นธรรมในการตรวจสอบทั้งของผู้เข้าร่วมประมูลและประชาชนเข้าของเงินภาษี

ดังนั้น ทำให้เราได้มีโอกาสเห็นการประมูลและได้รับข้อมูลในการจัดซื้ออาวุธมาเผยแพร่ค่อนข้างมาก ซึ่งต้องขอบคุณสมาชิก TAF หลายท่านที่ช่วยกันนำข้อมูลมาแบ่งปันกันให้รับทราบในกลุ่มของเราครับ


โครงการอื่น ๆ ที่ยังเดินหน้าไปได้ในปีงบประมาณ 2563 (นับการใช้งบประมาณของปีงบประมาณ 2563 คือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563 และโครงการที่จัดหาหลังจากกันยายน 2563 แต่ใช้งบประมาณในปีงบประมาณ 2563) นั้นมีหลายโครงการในทุกเหล่าทัพ และในหน่วยงานอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เราขอรวบรวมมาให้อ่านกันเท่าที่เราพอจะมีข้อมูลและรวบรวมได้ พร้อม Link กลับไปที่ต้นทางของข่าว ดังนี้

กองทัพบก

ปืนใหญ่เบา LG-1 Mk.3 ขนาด 105 มม. 12 กระบอก งบประมาณ 834 ล้านบาท

เป็นการจัดหาปืนใหญ่ลากจูงเบาขนาด 105 มม. จำนวน 12 กระบอก ซึ่งได้ผู้ชนะเป็นปืนใหญ่แบบ LG-1 Mk.3 จำนวน 12 กระบอก ซึ่งจะมาเพิ่มเติมกับ LG-1 ในรุ่นก่อนที่กองทัพบกมี 24 กระบอก รวมเป็นทั้งหมด 36 กระบอกที่กองทัพบกมีใช้งาน

https://thaiarmedforce.com/2020/08/05/rta-buy-new-105-artillery-2563/

เครื่องบิน PC-12 1 ลำ C208B 2 ลำ งบประมาณรวม 530 ล้านบาท

เป็นการจัดหาเครื่องบินใช้งานทั่วไปขนาดเบา ติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐาน สำหรับภารกิจโดยสารทั่วไป โดยแบ่งเป็นการจัดหาเครื่องบินแบบ Pilatus PC-21 จำนวน 1 ลำ งบประมาณ 231 ล้านบาท และเครื่องบินแบบ Cessna C-208 Grand Caravan Ex จำนวน 2 ลำ งบประมาณ 299 ล้านบาท

https://thaiarmedforce.com/2020/08/07/rta-buy-light-vip-aircraft-2563/

เครื่องบินใช้งานทั่วไปแบบ Gulfstream G500 งบประมาณ 1,348 ล้านบาท

กรมการขนส่งทหารบกเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ 2563 เป็นการจัดซื้อเครื่องบินใช้งานทั่วไปขนาดกลาง พร้อมติดตั้งอุปกรณ์มาตรฐาน จำนวน 1 เครื่อง งบประมาณ 1,348.5 ล้านบาท ซึ่งเลือกแบบเป็นเครื่องบินแบบ G500 สำหรับภารกิจโดยสารของผู้บังคับบัญชาและบุคคลสำคัญ และเป็นที่พูดถึงกันในช่วงนั้นด้วยแท็ค #เครื่องบินVIP

https://thaiarmedforce.com/2020/07/19/rta-buy-gulfstream-g500/
https://thaiarmedforce.com/2020/07/20/infographic-rta-gulfstream-g500-vip/
https://thaiarmedforce.com/2020/07/21/rta-didnt-postpond-the-procurement-of-g500/

ยานเกราะล้อยาง Stryker 50 คัน งบประมาณ 4.5 พันล้านบาท

กองทัพบกได้จัดหายานเกราะล้อยางแบบ Stryker จากสหรัฐอเมริกาเข้ามาใช้งานในล็อตแรกแล้วจำนวน 60 คัน การจัดหาล็อตนี้เป็นการจัดหาในล็อตที่ 2 จำนวน 50 คัน ซึ่งโครงการนี้รอดจากการถูกตัดงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรี 7 เมษายน 2563 (ซึ่งตัดงบการจัดหารถถัง VT-4 และปืนใหญ่ 155 มม.) โดยเป็นการจัดหายานเกราะ Stryker จำนวน 50 คัน มูลค่า 4.5 พันล้านบาท และเป็นที่พูดถึงกันในช่วงนั้นด้วยแท็ค #ยานเกราะพ่องง

ปืนใหญ่อัตตาจร ATMOS 2000 (ATMG) จำนวน 6 ระบบ งบประมาณ 886 ล้านบาท

กองทัพบกมีการจัดหาปืนใหญ่อัตตาจรแบบ ATMOS 2000 หรือ ATMG จากอิสราเอลเข้าประจำการแล้วจำนวน 18 ระบบหรือ 1 กองพัน การจัดหาในครั้งนี้เป็นการจัดหาเพิ่มเติมอีก 6 ระบบหรือ 1 กองร้อย ซึ่งทำให้คาดว่าจะมีการจัดหาเพิ่มเติมอีก 6 – 12 ระบบเพื่อให้ครบ 1 กองพันต่อไป โดยเป็นการจัดหาผ่านศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเะทศและพลังงานทหารหรือ ศอพท. ของกระทรวงกลาโหมซึ่งรับหน้าที่ประกอบปืนจากชิ้นส่วนที่ผลิตโดยบริษัท Soltam Systems ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Elbit ประเทศอิสราเอล

กองทัพเรือ

VN-16 งบประมาณ 398 ล้านบาท

กองทัพเรือมีโครงการจัดซื้อยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ระยะที่ 1 จำนวน 3 คัน ในงบประมาณ 398 ล้านบาท โดยเลือกแบบเป็นยานเกราะ VN16 จากบริษัท NORINCO ประเทศจีนจำนวน 3 คัน และคาดว่าจะมีการจัดหาเพิ่มเติมในระยะต่อไป เพื่อนำไปใช้กับเรือยกพลขึ้นบก Type-071E ซึ่งกำลังสั่งต่อจากประเทศจีนเช่นกัน

https://thaiarmedforce.com/2020/09/11/rtn-order-vn16/

RQ-21 ไม่ทราบงบประมาณ

กองทัพเรือจัดหาอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดเล็กแบบ RQ-21 ของบริษัท Insitu ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Boeing Defense ประเทศสหรัฐอเมริกาเข้าประจำการ ซึ่งไม่แน่ชัดว่าเป็นการจัดหาด้วยงบประมาณของกองทัพเรือเองหรือได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา โดยกองทัพเรือไทยเป็นกองทัพเรือแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิกที่มี RQ-21 ใช้งาน ทั้งนี้ กองทัพเรือกำลังส่งบุคลากรไปเข้ารับการฝึกที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระยะเวลา 5 เดือน ก่อนที่จะกลับมายังประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2564 ต่อไป

https://thaiarmedforce.com/2020/11/24/rtn-buy-rq-21-blackjack/

โครงการยานยนต์หุ้มเกราะจำนวน​ 6​ คัน​ งบประมาณ 99 ล้านบาท

เป็นการจัดหายานยนต์หุ้มเกราะเบาจำนวน 6 คัน ซึ่งมีรายงานว่าผู้ชนะการประมูลคือบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด ซึ่งคาดว่าจะเป็นแบบรถ First Win ATV ที่บริษัทออกแบบและผลิตขึ้นเองในประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นการสนับสนุนอุตสาหรรมป้องกันประเทศของไทย

ปรับปรุง Do228 ไม่ทราบงบประมาณ

กองทัพเรือมีข่าวว่าจะพิจารณาปรับปรุงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลแบบ Do228 มาระยะหนึ่งแล้ว และล่าสุดมีภาพภ่ายการส่งเครื่องบินแบบ Do228 จำนวนสองลำไปเข้ารับการปรับปรุงที่ประเทศเยอรมนี ซึ่งคาดว่าจะเป็นการปรับปรุงให้เป็นมาตรฐาน Do228NG ต่อไป

https://thaiarmedforce.com/2020/12/26/rtn-do228-in-germany-for-upgrade/

กองทัพอากาศ

เครื่องบินฝึกแบบ T-6 งบประมาณ 5,195 ล้านบาท

เป็นการจัดหาเครื่องบินฝึกทดแทนเครื่องบินฝึกแบบ PC-9M ของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ โดยเป็นงบประมาณผูกพันตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563-2567 มูลค่า 5,195 ล้านบาท และเป็นการจัดหาตรงกับบริษัทผู้ผลิตคือ Textron Aviation ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยไม่ผ่านโครงการ FMS ซึ่งในสัญญายังรวมถึงการให้ Textron ถ่ายทอดเทคโนโลยีและจ้างบริษัทไทยผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน 40% ของเครื่องบิน รวมถึงการประกอบรวมขั้นสุดท้ายที่จะดำเนินการที่บริษัท อุตสาหรรมการบิน จำกัด ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนอุตสากรรมป้องกันประเทศของไทยได้อีกทางหนึ่ง

https://thaiarmedforce.com/2020/08/20/rtaf-select-t-6-at-6-taxan-ii/https://thaiarmedforce.com/2020/08/22/t-6th-a-6th-perspective-contractors/https://thaiarmedforce.com/2020/09/29/official-textron-aviation-get-t-6c-texan-ii-order-from-rtaf/

รถยานยนต์หุ้มเกราะขนาดเบา จำนวน 2 คัน งบประมาณ 25 ล้านบาท

กองทัพอากาศมีโครงการจัดหายานเกราะเบาจำนวน 2 คัน ซึ่งได้ผู้ชนะเป็นบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด และแบบรถคือ First Win ATV ที่ออกแบบและผลิตในประเทศไทย

ปรับปรุง C-130 งบประมาณ 925 ล้านบาท

ในวาระครบรอบ 40 ปีของการประจำการ C-130 ของกองทัพอากาศนั้น กองทัพอากาศทำการปรับปรุงขีดความสามารถของเครื่องบินลำเลียง C-130 มูลค่า 952 ล้านบาท เป็นงบประมาณผูกพันตั้งแต่ปี 2563 – 2565 ซึ่งคาดว่าจะเป็นการปรับปรุง C-130 ให้มีความทันสมัยและมีอายุการใช้งานให้ได้อีกราว 10 ปี เพื่อรับกับการทะยอยจัดหาเครื่องบินทดแทนที่จะเกิดขึ้นในปี 2565 2567 และ 2569 นี้

https://thaiarmedforce.com/2020/08/05/%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%87-c-130-%e0%b8%a1%e0%b8%b9/

กองทัพอากาศจัดซื้อ DA42MPP เพิ่มเติม 3 ลำ

กองทัพอากาศลงนามจัดหาเครื่องบินลาดตระเวนแบบ #DA42MPP เพิ่มเติมอีกสามลำ งบประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งจะติดตั้ง LiDAR Sensor พร้อมกล้องตรวจการณ์ของ #Riegl เพื่อเข้าประจำการในฝูงบิน 402 กองบิน 4 ตาคลี

https://thaiarmedforce.com/2020/12/30/rtaf-buy-more-3-da42mpp/

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

เฮลิคอปเตอร์ Ka-32 งบประมาณ 1,862 ล้านบาท

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยหรือ ปภ. มีการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์กู้ภัยแบบ Ka-32 เพิ่มเติมอีกสองลำ มูลค่าราวลำละ 931 ล้านบาท โดยยังเป็นการร่วมมือกับกองทัพบกในการจัดหาและใช้งาน ซึ่งเป็นการจัดหาเพิ่มเติมจากที่มีประจำการอยู่แล้วสองลำ ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการจัดตั้งหน่วยบินป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของกรม ปภ. โดยมีผลงานในการดับไฟป่าหลายพื้นที่ของประเทศ


นอกจากนั้น ยังมีโครงการอื่น ๆ ที่จัดหาในปีงบประมาณอื่น แต่ได้รับมอบในปีงบประมาณ 2563 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563 ) เท่าที่จะสามารถรวบรวมได้ พร้อม Link กลับไปที่ต้นทางของข่าว ดังนี้

กองทัพบก

ยานเกราะล้อยาง Stryker 60 คัน

เป็นการทะยอยรับมอบยานเกราะล้อยางที่จัดหาจากสหรัฐอเมริกาในล็อตแรกจำนวน 60 คัน ต่อเนื่องหลังจากทำพิธีรับมอบรถล็อตแรกอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 2562

https://thaiarmedforce.com/2020/10/21/new-batch-of-stryker-deliver-to-rta/

รถบรรทุกทางทหาร TATA LPTA จำนวน 625 คัน

เป็นการทะยอยรับมอบตามสัญญาเมื่อปี 2560 โดยเลือกแบบ LPTA 715/32 TC 4×4 ( BS-III ) ตามโครงการจัดหารถยนต์บรรทุก 1 1/4 ตัน TAF มูลค่า 1.338 พันล้านบาท โดยกองทัพบกกำลังแจกจ่ายให้หน่วยทั่วประเทศ

https://thaiarmedforce.com/2020/08/26/rta-to-buy-600-tata-lpta-truck/

ยานเกราะล้อยาง VN1

กองทัพบกจัดหายานเกราะ VN1 จากบริษัท NORINCO ประเทศจีนในสองระยะคือระยะที่ 1 ในปี 2560 จำนวน 38 คัน (รุ่นลำเลียงพล 34 คัน รุ่นกู้ซ่อม 2 คัน รุ่นซ่อมบำรุง 2 คัน) งบประมาณ 2,300 ล้านบาท และระยะที่ 2 ในปี 2562 จำนวน 43 คัน (รุ่นลำเลียงพล 3 คัน รุ่นเครื่องยิงลูกระเบิด 120 มม. 12 คัน รุ่นกู้ซ่อม 9 คัน รุ่นบังคับการ 12 คัน รุ่นพยาบาล 3 คัน รุ่นซ่อมบำรุง 4 คัน) งบประมาณ 2,200 ล้านบาท โดยในระยะแรกนั้น กองทัพบกได้รับมอบแล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

https://thaiarmedforce.com/2020/09/20/rta-taken-delivery-of-vn-1/

จรวดต่อสู้รถถัง Spike MR

กองทัพบกมีความตั้งการจัดหาจรวดต่อสู้รถถังแบบใหม่มานานแล้ว แต่เพิ่งจะประสบความสำเร็จในการจัดหาจรวด Spike MR โดยเป็นการจัดหาในล็อตเล็ก ๆ และได้รับมอบล็อตแรกแล้วเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

https://thaiarmedforce.com/2020/08/01/%e0%b8%97%e0%b8%9a-%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%94-spike-mr-%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b8%a3/

เฮลิคอปเตอร์ UH-60A Refurbished

กองทัพบกได้ปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์แบบ CH-47D Chinook จำนวน 6 ลำ และทำการแลกเปลี่ยนซากเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบ UH-60A จำนวน 3 ลำ ซึ่งได้รับมอบแล้วเมื่อกลางปี 2563 ที่ผ่านมา

กองทัพเรือ

อากาศยานไร้นักบิน Camcopter S-100

โดยกองทัพเรือจัดหา Camcopter S-100 จำนวน 2 ระบบ มูลค่าราว 600 ล้านบาท ซึ่งเพิ่งมีภาพว่ากองทัพเรือได้รับมอบใช้งานเมื่อไม่นานมานี้

https://thaiarmedforce.com/2020/12/09/rtn-camcopter-s-100-uav/

อากาศยานไร้นักบิน Orbiter 3B

เช่นเดียวกันคือกองทัพเรือมีการจัดหาอากาศยานไร้นักบิน Orbiter 3B เพื่อใช้งานในศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลหรือ ศรชล. และได้รับมอบเข้าประจำการแล้วในปีนี้

https://thaiarmedforce.com/2020/02/29/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7-orbiter-3-%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2/

กองทัพอากาศ

เฮลิคอปเตอร์แบบ S-70i

เป็นการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ S-70i จำนวน 3 ลำเพื่อใช้ในภารกิจรับส่งบุคคลสำคัญ

https://thaiarmedforce.com/2020/12/16/rtaf-s-70i-photo/

ดาวเทียม NAPA-1

ดาวเทียมดวงแรกของกองทัพอากาศ เป็นดาวเทียมขนาดเล็กที่จัดหามาจากบริษัท ISISpace ที่เพิ่งประสบความสำเร็จในการส่งขึ้นสู่อวกาศในปีนี้

https://thaiarmedforce.com/2020/09/03/napa-1-successfully-placed-on-orbit/

อากาศยานไร้นักบิน RTAF U1 และเครื่องบินขับไล่ F-5TH

เป็นโครงการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ F-5 ให้เป็นมาตรฐาน TH ซึ่งเป็นการติดตั้งเรดาร์แบบใหม่ ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ ติดตั้งระเบิดนำวิถี Lizard กระเปาะ Skyshield และจรวดแบบ IRIS-T รวมถึงการผลิตอากาศยานไร้นักบินแบบ RTAF U1 เข้าประจำการ ซึ่งทั้งหมดมีผู้ดำเนินการหลักเป็นกองทัพอากาศและบริษัท R V Connex ของไทย ถือได้ว่าผลงานการพัฒนาของคนไทย และเป็นการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่และอากาศยานไร้นักบินของคนไทยแบบแรกที่เข้าประจำการในกองทัพไทยได้เป็นผลสำเร็จ

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

เครื่องบินแบบ DHC-6

กองบินตำรวจจัดหาเครื่องบินแบบ DHC-6 Twin Otter ซึ่งติดตั้งระบบตรวจการณ์และถ่ายภาพด้วย

https://thaiarmedforce.com/2020/11/16/dhc-6-400-twin-otter-thai-police-linx-s-c-a-r-pod/

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.